บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอนในราวิชาอินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน

วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับ “บ้านใหม่หลังแรก”

การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับ บ้านใหม่หลังแรก
ผู้มีเงินได้ที่จะได้รับสิทธิดังกล่าวต้องปฏิบัติอย่างไร ? รัฐบาล มีนโยบายสนับสนุนให้ประชาชนที่ไม่เคยมีที่อยู่อาศัยเป็นกรรมสิทธิ์ของตน สามารถซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดินหรือห้องชุดในอาคารชุด เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย

จึงกำหนดยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาที่ซื้อ อสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดินหรือห้องชุดในอาคารชุดที่มีมูลค่า ไม่เกิน 5 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของตน ในระหว่างวันที่ 21 กันยายน 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555 เป็นจำนวนเท่ากับภาษีเงินได้ที่คำนวณจากเงินได้สุทธิหรือที่ต้องชำระก่อนการ คำนวณเครดิตภาษี แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์นั้น โดยการตราพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 528) พ.ศ. 2554 จึงขอนำมาเป็นประเด็นปุจฉา - วิสัชนาดังนี้ ครับ

ปุจฉาการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ให้แก่ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคาร พร้อมที่ดินหรือห้องชุดในอาคารชุดที่มีมูลค่าไม่เกิน 5 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของตน เป็นจำนวนเท่ากับภาษีเงินได้ที่คำนวณจากเงินได้สุทธิหรือที่ต้องชำระก่อนการ คำนวณเครดิตภาษี แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์นั้น ผู้มีเงินได้ที่จะได้รับสิทธิดังกล่าวต้องปฏิบัติอย่างไร

วิสัชนา ผู้มีเงินได้ที่จะได้รับสิทธิดังกล่าวต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

1. การจดทะเบียนโอนและการถือครองกรรมสิทธิ์

(1) ผู้มีเงินได้ต้องจ่ายค่าซื้ออาคารพร้อมที่ดินหรือห้องชุดและจดทะเบียนโอน กรรมสิทธิ์ให้เสร็จสิ้นในระหว่างวันที่ 21 กันยายน 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555 และ

(2) มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้นให้แล้วเสร็จภายในช่วงเวลาดังกล่าว

(3) ผู้ มีเงินได้ต้องไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุดเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยมาก่อน กล่าวคือ ต้องเป็น บ้านหลังแรกของผู้มีเงินได้

(4) ผู้มีเงินได้ต้องมีชื่อเป็นเจ้าของ กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันที่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ และ

(5) อสังหาริม ทรัพย์นั้นต้องไม่เคยมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์มาก่อน ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งเป็นการตอกย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า อสังหาริมทรัพย์ที่จะใช้สิทธิต้องเป็น บ้านใหม่หลังแรกเท่านั้น

2. เงื่อนไขการใช้สิทธิ ผู้มีเงินได้ต้องดำเนินการดังนี้

(1) ต้องใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ครั้งแรกภายใน 5 ปีภาษีนับแต่ปีภาษีที่มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ และ

(2) ต้องใช้สิทธิดังกล่าวเป็นเวลา 5 ปีภาษีต่อเนื่องกัน นับแต่ปีภาษีที่มีการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ครั้งแรก และ

(3) โดยให้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเป็นจำนวนเท่าๆ กันในแต่ละปีภาษี

3. ผู้มีเงินได้ต้องไม่เคยเป็นผู้ใช้สิทธิหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ ยืม สำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อเช่าซื้อ หรือสร้างอาคารอยู่อาศัย

4. ผู้มีเงินได้ต้องไม่เคยเป็นผู้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้จากการ ขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นที่อยู่อาศัยเดิมและซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อเป็น ที่อยู่อาศัยใหม่ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 241 (พ.ศ. 2546) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร และต้องไม่เคยเป็นผู้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้จากการซื้ออสังหาริมทรัพย์ ที่เป็นอาคาร อาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 271 (พ.ศ. 2552) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามวิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด

ปุจฉา ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้มีเงินได้ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดดังกล่าวในปีภาษีใด จะมีผลอย่างไร

วิสัชนา ในกรณีดังกล่าว ให้สิทธิที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สิ้นสุดลงตั้งแต่ปีภาษีแรกที่ได้ใช้ สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ และให้ถือว่าไม่เสียหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลา จึงต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสียหรือนำส่งสำหรับภาษีเงินได้ ที่ได้รับยกเว้นภาษีมาแล้วด้วย
ที่มา  http://www.nationejobs.com/content/legal/taxclinic/template.php?conno=524

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น