บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอนในราวิชาอินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน

วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ภาษี กิจการร่วมค้า


กิจการร่วมค้า (Joint Venture )
เป็นการรวมตัวของบุคคล บริษัทหรือห้างหุ้นส่วน ตั้งแต่  2  ฝ่ายขึ้นไป  โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะดำเนินการทางธุรกิจเพื่อผลกำไร  ไม่ได้กำหนดสัญชาติ
ประเภทของกิจการร่วมค้า   แบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ
1.   แบบไม่จดทะเบียน (Unincorporated Joint Venture )
- ใช้ข้อบังคับทางกฏหมายเหมือนห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน  มักเป็นการรวมตัวของบริษัทใหญ่ๆ เพื่อรับงานโครงการใหญ่ หรืองานเฉพาะกิจ   งานเดียว เช่น Infra-structure เมื่อเสร็จงานแล้วก็จะแยกจากกัน  
-   เรียกอีกอย่างว่า contractual joint venture     
-   การเสียภาษี   เสียภาษีนิติบุคคล 30%  กำไรส่วนที่เหลือ หุ้นส่วนแบ่งกันโดยไม่ต้องเสียภาษีอีก
-  เมื่อมีผู้ฟ้องเรียกค่าเสียหาย  บริษัทที่รวมตัวกันต้องร่วมกันรับผิดชอบเต็มจำนวนที่เกิดความเสียหาย
2.   แบบจดทะเบียน( Incorporate Joint Venture )
- มักเป็นกิจการที่ร่วมกระทำกันโดยถาวร  มีการจดทะเบียนเป็นบริษัท  ฐานะทางกฏหมายเหมือนบริษัท
- ทั้งสองฝ่ายจะถือหุ้นเป็นอัตราส่วนต่อกัน  ถ้าร่วมกับต่างชาติ บริษัทไทยต้องถือหุ้นเกิน 50% (51:49)
- มีข้อตกลงระหว่างผู้ถือหุ้น หรือสัญญาร่วมค้า(Shareholder Agreement or Joint Venture Agreement )
- การฟ้องให้บริษัทชดใช้หนี้ หลังจากบริษัทชำระบัญชีแล้ว เจ้าหนี้สามารถติดตามหนี้ได้อีก 10 ปี
เหตุผลในการทำกิจการร่วมค้า (Joint Venture )
1.   ด้านเงินทุน             
 – ร่วมค้า  ร่วมทุน  กรณีต้องใช้เงินทุนมาก
 - เป็นการเพิ่มความเชื่อถือในตลาดเงินทุน กู้เงินได้ง่าย
  - ทรัพย์สินที่นำเข้ามาใช้ประโยชน์ในบริษัท ให้ตีเป็นมูลค่าหุ้น
2.  ด้านเทคโนโลยี ความเชี่ยวชาญและทรัพยากรทางธุรกิจอื่น
บริษัทไม่มีความเชี่ยวชาญ ขาดความรู้ในบางด้าน  จึงต้องหาบริษัทอื่นที่มีความรู้ความชำนาญมาร่วมงาน
3.               ด้านการกระจายความเสี่ยง                  
ได้กระจายผลขาดทุน
- การได้ผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยลดความเสี่ยง เพราะได้ประโยชน์จากประสบการณ์ และความรู้ความชำนาญที่มากขึ้น
4. ลดการแข่งขันและต้นทุน 
 ธุรกิจประเภทเดียวกัน ร่วมมือกันได้ประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย ลดการแข่งขัน   ลดค่าใช้จ่ายที่ซ้ำซ้อน
5. ด้านการบัญชีและการเงิน
- มีบัญชีแยกต่างหากจากธุรกิจเดิม
- หนี้ที่เกิดจากการทำกิจการค้าร่วมจะไม่ปรากฏในบัญชีของธุรกิจเดิม  ทำให้สามารถกู้ได้มากขึ้น ไม่เป็นการเสียเครดิต
ขั้นตอนกระบวนการในการเข้าทำกิจการร่วมค้า
1. ติดต่อ หรือได้รับการติดต่อจากต่างชาติ    
ตอบรับการทาบทาม
- ขอข้อมูลรายละเอียดของโครงการที่เสนอ พร้อมลงนามรักษาความลับทั้งสองฝ่าย
2.  วิเคราะห์ความเหมาะสมที่จะเข้าร่วมทุน   ทั้งทางด้านเทคนิค  การเงิน  การพาณิชย์  ด้านกฏหมาย
      3 เตรียมการเจรจา    ซึ่งต้องมีประเด็นในการเจรจาดังนี้
-  ขอบเขตและวัตถุประสงค์ของการร่วมทุน
-  ด้านการเงิน ได้แก่ จำนวนเงินลงทุน   ข้อผูกพันของผู้ร่วมทุน  สัดส่วนการถือหุ้น  อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน ข้อจำกัดการโอนหุ้น   นโยบายบริหารการเงิน   การเพิ่มทุน
-  แนวทางการบริหารกิจการ:  นโยบายบริหาร  การประชุม   องค์ประชุมผู้ถือหุ้น  การลงมติ
-  การจัดตั้งคณะกรรมการบริษัท
-  การกำหนดตำแหน่งคณะกรรมการจัดการ
-  สัญญาต่อเนื่อง : จำนวน  ชนิด  ค่าตอบแทนในสัญญาต่อเนื่องแต่ละฉบับ
-  การเลิกสัญญา
4. เจรจา มีหัวหน้าทีมที่มีอำนาจตัดสินใจ 1คน   นักเจรจา 1คน  เน้นหลักการ อย่าเพิ่งลงรายละเอียด
5. ทำบันทึกข้อตกลงเบื้องต้น หรือหนังสือแสดงเจตนา (MOU: memorandum of understanding)  ซึ่งยังไม่มีผลบังคับ ทางกฏหมาย    แต่อย่างไรก็ตามก่อนลงนาม ควรปรึกษานักกฏหมายก่อนเพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีข้อเสียเปรียบ
6.  ร่างสัญญา    โดยนักกฏหมาย 
7.  เจรจาต่อรองสาระสำคัญของสัญญา
8.  การลงนามในสัญญา

หลักการเจรจาต่อรอง

1. แยกตัวบุคคลออกจากปัญหาที่ต่อรอง    ไม่มีความรู้สึกส่วนตัว   ห้ามดูถูกคู่กรณี
2. เน้นประโยชน์ร่วมกันของทุกฝ่าย
3. หาทางออกที่เป็นผลดีกับทุกฝ่าย    คือทุกฝ่ายเป็นผู้ชนะ (win – win  situation)
4. ข้อตกลงควรมีเหตุผลและหลักการ 
ที่มา  http://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=2&ved=0CCwQFjAB&url=http%3A%2F%2Fwww.reocities.com%2Feureka%2Fmeeting%2F7865%2Flaw21.doc&ei=srE2UICMFc3MrQeVnYH4Bw&usg=AFQjCNEmupGhnEmO47Pp_77nT3ygWswHZA&sig2=EAMJSY-SibjrPOTFN13p-Q

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น