บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอนในราวิชาอินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน

วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บัญชีอัตราอากรแสตมป์

  1. เช่าที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นหรือแพ ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาทแห่งค่าเช่า หรือเงินกินเปล่า หรือทั้ง2อย่างรวมกัน
    • ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
    • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ให้เช่า
    • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้เช่า
    • ข้อยกเว้น การเช่าทรัพย์สินที่ใช้ในการทำนา ไร่ สวน
  2. โอนใบหุ้น ใบหุ้นกู้ พันธบัตรและใบรับรองหนี้ ซึ่งบริษัท สมาคม คณะบุคคล หรือองค์กรใดๆ เป็นผู้ออก ให้คิดตามราคาหุ้นที่ชำระแล้วหรือตามราคาในตราสาร แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท
    • ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
    • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้โอน
    • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้รับโอน
    • ข้อยกเว้น
  3. เช่าซื้อทรัพย์สิน ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาทแห่งราคาทั้งหมด
    • ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
    • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ให้เช่า
    • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้เช่า
    • ข้อยกเว้น การเช่าซื้อทรัพย์สินที่ใช้ในการทำนา ไร่ สวน
  4. จ้างทำของ ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาทแห่งสินจ้างที่กำหนดไว้
    • ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
    • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้รับจ้าง
    • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้รับจ้าง
    • ข้อยกเว้น การเช่าซื้อทรัพย์สินที่ใช้ในการทำนา ไร่ สวน
  5. กู้ยืมเงินหรือการตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร ทุกจำนวนเงิน 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาทแห่งยอดเงินให้กู้ยืม หรือตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชี โดยมีจำนวนเงินสูงสุดที่ต้องเสียอยู่ที่ 10,000 บาท
    • ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
    • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ให้กู้
    • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้กู้
    • ข้อยกเว้น การกู้ยืมเงินซึ่งสมาชิกกู้ยืมเงินจากสหกรณ์, สหกรณ์กู้ยืม หรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
  6. กรมธรรม์ประกันภัย โดยแยกเป็น
    1. กรมธรรม์ประกันวินาศภัย ทุกจำนวนเงิน 250 บาท หรือเศษของ 250 บาทแห่งเบี้ยประกันภัย
      • ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้รับประกันภัย
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้รับประกันภัย
    2. กรมธรรม์ประกันชีวิต ทุกจำนวนเงิน 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาทแห่งจำนวนเงินที่เอาประกันภัย ซึ่งเป็นเงินค่าอากรแสตมป์ไม่เกิน 20 บาท
      • ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้รับประกันภัย
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้รับประกันภัย
    3. กรมธรรม์ประกันภัยอื่นๆ ทุกจำนวนเงิน 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาทแห่งจำนวนเงินที่เอาประกันภัย
      • ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้รับประกันภัย
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้รับประกันภัย
    4. กรมธรรม์เงินปี ทุกจำนวนเงิน 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาทแห่งต้นทุนเงินปีนั้น ถ้าไม่มีต้นทุนเงินปีให้คิดทุก 2,000 บาทหรือเศษของ 2,000 บาทแห่ง 33 1/3เท่าของรายได้ประจำปี
      • ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้รับประกันภัย
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้รับประกันภัย
    5. กรมธรรม์ประกันภัยซึ่งผู้รับประกันภัยนำไปให้ผู้อื่นประกันอีกต่อหนึ่ง
      • ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้รับประกันภัย
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้รับประกันภัย
    6. บันทึกการต่ออายุกรมธรรม์ประกันภัยเดิม
      • ค่าอากรแสตมป์ ครึ่งหนึ่งของอัตราเดิม
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้รับประกันภัย
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้รับประกันภัย
    • ข้อยกเว้น
    1. การประกันภัยสัตว์พาหนะ ซึ่งใช้ในการเกษตรกรรม
    2. บันทึกการประกันภัย หรือกรมธรรม์ประกันภัยชั่วคราว ซึ่งจะมีการออกตัวจริงต่อมา
  7. ใบมอบอำนาจ แบ่งเป็น
    1. มอบอำนาจให้บุคคลเดียว หรือหลายคน กระทำการครั้งเดียว
      • ค่าอากรแสตมป์ 10 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้มอบอำนาจ
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้รับมอบอำนาจ
    2. มอบอำนาจให้บุคคลเดียว หรือหลายคน ร่วมกันกระทำการมากกว่าครั้งเดียว
      • ค่าอากรแสตมป์ 30 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้มอบอำนาจ
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้รับมอบอำนาจ
    3. มอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียว โดยให้บุคคลหลายคนกระทำแยกกันได้ ให้คิดเป็นรายตัวบุคคล
      • ค่าอากรแสตมป์ 30 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้มอบอำนาจ
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้รับมอบอำนาจ
    • ข้อยกเว้น
    1. ใบแต่งตั้งทนาย และใบมอบอำนาจให้ทนายความเพื่อเป็นตัวแทนดำเนินคดีในศาล
    2. ใบมอบอำนาจให้โอน หรือให้กระทำการใดๆที่เกี่ยวกับสัตว์พาหนะ
    3. ใบมอบอำนาจให้รับเงิน หรือสิ่งของตอบแทน
    4. ใบมอบอำนาจซึ่งสหกรณ์เป็นผู้มอบ และใบมอบอำนาจตั้งสหกรณ์เป็นตัวแทนจัดการให้ สหกรณ์ได้รับสิทธิในอสังหาริมทรัพย์
  8. ใบมอบฉันทะสำหรับให้ลงมติประชุมของบริษัท แบ่งเป็น
    1. มอบฉันทะสำหรับการประชุมครั้งเดียว
      • ค่าอากรแสตมป์ 20 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้มอบฉันทะ
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้มอบฉันทะ
    2. มอบฉันทะสำหรับการประชุมมากกว่าครั้งเดียว
      • ค่าอากรแสตมป์ 100 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้มอบฉันทะ
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้มอบฉันทะ
  9. ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตราสารทำนองเดียวกัน แบ่งเป็น
    1. ตั๋วแลกเงิน หรือตราสารทำนองเดียวกันที่ใช้อย่างตั๋วแลกเงิน ฉบับละ
      • ค่าอากรแสตมป์ 3 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้สั่งจ่าย
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้สั่งจ่าย
    2. ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตราสารทำนองเดียวกันที่ใช้อย่างตั๋วสัญญาใช้เงิน ฉบับละ
      • ค่าอากรแสตมป์ 3 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ออกตั๋ว
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้ออกตั๋ว
  10. บิลออฟเลดิง
    • ค่าอากรแสตมป์ 2 บาท
    • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้กระทำตราสาร
    • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้กระทำตราสาร
  11. ตราสารทางธุรกิจ แยกเป็น
    1. ใบหุ้น หรือใบหุ้นกู้ หรือใบรับรองหนี้ของบริษัท สมาคม คณะบุคคล หรือองค์การใดๆ
      • ค่าอากรแสตมป์ 5 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ทรงตราสาร
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้ทรงตราสาร
    2. พันธบัตรของรัฐบาลใดๆ ที่ขายในประเทศไทย
      • ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ทรงตราสาร
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้ทรงตราสาร
    • ข้อยกเว้น ตราสารของสหกรณ์
  12. เช็ค หรือหนังสือคำสั่งใดๆ ซึ่งใช้แทนเช็ค
    • ค่าอากรแสตมป์ 3 บาท
    • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้สั่งจ่าย
    • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้สั่งจ่าย
  13. ใบรับฝากเงินประเภทประจำของธนาคารโดยมีดอกเบี้ย
    • ค่าอากรแสตมป์ 5 บาท
    • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้รับฝาก
    • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้รับฝาก
  14. เลตเตอร์ออฟเครดิต แยกตามสถานที่ออกเป็น
    1. ออกในประเทศไทย ซึ่งแยกตามจำนวนเงินเป็น
      1. เงินต่ำกว่า 10,000 บาท
        • ค่าอากรแสตมป์ 20 บาท
        • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ออกตราสาร
        • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้ออกตราสาร
      2. เงินตั้งแต่ 10,000 บาท ขึ้นไป
        • ค่าอากรแสตมป์ 30 บาท
        • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ออกตราสาร
        • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้ออกตราสาร
    2. ออกในต่างประเทศ และให้ชำระเงินในประเทศไทย คราวละ
      • ค่าอากรแสตมป์ 20 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ทรงตราสารคนแรกในประเทศไทย
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้ทรงตราสารคนแรกในประเทศไทย
  15. เช็คเดินทาง
    1. ออกในประเทศไทย ฉบับละ
      • ค่าอากรแสตมป์ 3 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ออกเช็ค
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้ออกเช็ค
    2. ออกในต่างประเทศ แต่ให้ชำระในประเทศไทย ฉบับละ
      • ค่าอากรแสตมป์ 3 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ทรงคนแรกในประเทศไทย
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้ทรงคนแรกในประเทศไทย
  16. ใบรับของ ซึ่งออกให้จากกิจการรับขนส่งสินค้า
    • ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
    • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ออกใบรับ
    • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้ออกใบรับ
  17. ค้ำประกัน แยกตามจำนวนเงินเป็น
    1. สำหรับกรณีที่ไม่จำกัดจำนวนเงินไว้
      • ค่าอากรแสตมป์ 10 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ค้ำประกัน
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้ค้ำประกัน
    2. สำหรับจำนวนเงินไม่เกิน 1,000 บาท
      • ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ค้ำประกัน
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้ค้ำประกัน
    3. สำหรับจำนวนเงินที่เกิน 1,000 บาทแต่ไม่เกิน 10,000 บาท
      • ค่าอากรแสตมป์ 5 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ค้ำประกัน
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้ค้ำประกัน
    4. สำหรับจำนวนเงินเกิน 10,000 บาท ขึ้นไป
      • ค่าอากรแสตมป์ 10 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ค้ำประกัน
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้ค้ำประกัน
    • ข้อยกเว้น
    1. ค้ำประกันหนี้จากการที่รัฐบาลให้ราษฎรกู้ยืมเพื่อการบริโภค หรือการเกษตรกรรม
    2. ค้ำประกันหนี้จากสหกรณ์ ที่ให้สมาชิกกู้ยืม
  18. จำนำ แยกตามจำนวนหนี้เป็น
    1. จำนวนหนี้ทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท
      • ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้รับจำนำ
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้รับจำนำ
    2. ไม่จำกัดจำนวนหนี้ไว้
      • ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้รับจำนำ
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้รับจำนำ
    • ข้อยกเว้น
    1. ตั๋วจำนำของโรงจำนำที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย
    2. จำนำอันเกี่ยวกับการกู้ยืม ซึ่งได้ปิดแสตมป์ครบตามข้อ 5 แล้ว
  19. ใบรับของคลังสินค้า
    • ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
    • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ นายคลังสินค้า
    • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ นายคลังสินค้า
  20. คำสั่งให้ส่งมอบของ
    • ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
    • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ออกคำสั่ง
    • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้ออกคำสั่ง
  21. ตัวแทน แยกเป็น
    1. มอบอำนาจเฉพาะการ
      • ค่าอากรแสตมป์ 10 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ตัวการ
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ตัวการ
    2. มอบอำนาจทั่วไป
      • ค่าอากรแสตมป์ 30 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ตัวการ
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ตัวการ
    • ข้อยกเว้น การตั้งตัวแทนจากสหกรณ์
  22. คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ แยกตามจำนวนเงินเป็น
    1. ในกรณีพิพาทกันด้วยจำนวนเงิน หรือราคาทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท
      • ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ อนุญาโตตุลาการ
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ อนุญาโตตุลาการ
    2. ในกรณีซึ่งไม่ระบุจำนวนเงิน
      • ค่าอากรแสตมป์ 10 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ อนุญาโตตุลาการ
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ อนุญาโตตุลาการ
  23. คู่ฉบับหรือคู่ฉีกแห่งตราสาร แยกเป็น
    1. ต้นฉบับเสียอากรไม่เกิน 5 บาท
      • ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ
      1. ถ้าไม่มีคู่สัญญา ให้ผู้ที่เสียอากรสำหรับต้นฉบับ
      2. ถ้ามีคู่สัญญา ให้เป็นคู่สัญญา
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้ที่ขีดฆ่าต้นฉบับ
    2. ต้นฉบับเสียอากรเกิน 5 บาท
      • ค่าอากรแสตมป์ 5 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ
      1. ถ้าไม่มีคู่สัญญา ให้ผู้ที่เสียอากรสำหรับต้นฉบับ
      2. ถ้ามีคู่สัญญา ให้เป็นคู่สัญญา
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้ที่ขีดฆ่าต้นฉบับ
    • ข้อยกเว้น ถ้าฝ่ายที่ต้องเสียอากรเป็นสหกรณ์
  24. หนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทจำกัด ที่ส่งต่อนายทะเบียน
    • ค่าอากรแสตมป์ 200 บาท
    • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้เริ่มก่อการ
    • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้เริ่มก่อการ
  25. ข้อบังคับของบริษัทจำกัด ที่ส่งต่อนายทะเบียน
    • ค่าอากรแสตมป์ 200 บาท
    • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ กรรมการ
    • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ กรรมการ
  26. ข้อบังคับใหม่ หรือสำเนาหนังสือบริคณห์สนธิหรือข้อบังคับที่เปลี่ยนแปลง ที่ส่งต่อนายทะเบียน
    • ค่าอากรแสตมป์ 50 บาท
    • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ กรรมการ
    • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ กรรมการ
  27. หนังสือสัญญาห้างหุ้นส่วน แยกเป็น
    1. หนังสือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน
      • ค่าอากรแสตมป์ 100 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้เป็นหุ้นส่วน
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้เป็นหุ้นส่วน
    2. หนังสือสัญญาที่แก้ไขสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน
      • ค่าอากรแสตมป์ 50 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้เป็นหุ้นส่วน
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้เป็นหุ้นส่วน
  28. ใบรับ เฉพาะตามที่ระบุต่อไปนี้
    1. ใบรับรางวัลสลากกินแบ่งของรัฐบาล
    2. ใบรับสำหรับการโอน หรือก่อตั้งสิทธิใดๆเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งต้องมีการจดทะเบียนตามกฎหมาย
    3. ใบรับสำหรับการขาย ขายฝาก ให้เช่าซื้อ หรือโอนกรรมสิทธิ์ยานพาหนะ ทั้งนี้เฉพาะยานพาหนะที่ต้องมีการจดทะเบียน
    • ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
    • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ออกใบรับ
    • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้ออกใบรับ
    • ข้อยกเว้น ใบรับสำหรับรายรับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ

วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

กิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

การประกอบกิจการต่อไปนี้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

1. กิจการของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
2. กิจการของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
3. กิจการของสหกรณ์ออมทรัพย์ เฉพาะการให้กู้ยืมแก่สมาชิกหรือแก่สหกรณ์ออมทรัพย์อื่น
4. กิจการของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
5. กิจการของการเคหะแห่งชาติ เฉพาะการขายหรือให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์
6. กิจการรับจำนำของกระทรวง ทบวง กรม และราชการส่วนท้องถิ่น
7. กิจการขายหลักทรัพย์ ตามกฎหมายว่าด้วยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในตลาดหลักทรัพย์
8. กิจการของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม
9. กิจการของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม
10. กิจการของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
11. กิจการของกองทุนสิ่งแวดล้อม ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
12. กิจการขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน
13. กิจการของบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน
14. กิจการของนิติบุคคลเฉพาะกิจในส่วนที่เกี่ยวกับการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์เฉพาะกรณี ดังต่อไปนี้
(1) กิจการที่เกิดขึ้นเนื่องจากการรับโอนทรัพย์สินจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น หรือการโอนทรัพย์สินดังกล่าวคืนให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น
(2) กิจการที่ได้รับโอนมาจากผู้โอนซึ่งได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/3 แห่งประมวลรัษฎากร

15. กิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นในส่วนที่เกี่ยวกับการแปลงสินทรัพย์ เป็นหลักทรัพย์ เฉพาะที่เกิดขึ้นเนื่องจากการโอนทรัพย์สินให้แก่นิติบุคคลเฉพาะกิจ หรือการรับโอนทรัพย์สินดังกล่าวกลับคืนจากนิติบุคคลเฉพาะกิจ
16. กิจการของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบัน การเงิน และกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้น ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เฉพาะการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ และการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร
17. กิจการของบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
18. กิจการของการเคหะแห่งชาติ เฉพาะการให้กู้ยืมเงินตามโครงการพัฒนาคนจนในเมือง
19. กิจการของสหกรณ์ประเภทสหกรณ์บริการ ซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการจัดหาที่อยู่อาศัยให้แก่สมาชิก เฉพาะกรณีดังต่อไปนี้
(1) ต้องเป็นสหกรณ์ที่เป็นสมาชิกของโครงการพัฒนาคนจนในเมืองของการเคหะแห่งชาติ และได้รับเงินกู้ตามโครงการดังกล่าว
(2) ต้องนำเงินที่ได้รับไปจัดซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อขายต่อให้แก่สมาชิกของสหกรณ์นั้น

20. กิจการของสถาบันการเงิน ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ เฉพาะกรณีที่
(1) สถาบันการเงินนั้นถือหุ้นในบริษัทบริหารสินทรัพย์เกินกว่าร้อยละ 50 ของหุ้นทั้งหมด ที่มีสิทธิออกเสียงหรือในกรณีที่สถาบันการเงินนั้นถือหุ้นในบริษัทบริหารสินทรัพย์และสถาบันการเงินนั้นไม่เกินกว่าร้อยละ 50 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง จะต้องมีนิติบุคคลรายหนึ่งถือหุ้นในบริษัทบริหารสินทรัพย์และสถาบันการเงินนั้น เกินกว่าร้อยละ 50 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง
(2) เป็นรายรับที่ได้จากบริษัทบริหารสินทรัพย์ เนื่องจากการให้สินเชื่อแก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ เพื่อรับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ของสถาบันการเงินนั้น หรือสถาบันการเงินอื่นที่มี สถาบันการเงินนั้นถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 ของหุ้นทั้งหมด ที่มีสิทธิออกเสียง หรือการให้สินเชื่อแก่บริษัทบริหารสินทรัพย์เพื่อใช้ใน การบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ที่รับซื้อหรือรับโอนจากสถาบันการเงินนั้น หรือสถาบันการเงินอื่นที่มีสถาบันการเงินนั้น ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง

21. กิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางการค้าหรือหากำไรเนื่องจาก
(1) การรับไถ่อสังหาริมทรัพย์จากการขายฝาก หรือการไถ่อสังหาริมทรัพย์จากการขายฝาก โดยการวางทรัพย์ต่อสำนักงานวางทรัพย์ภายในเวลาที่กำหนด ได้ในสัญญาหรือภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด
(2) การขายอสังหาริมทรัพย์ภายหลังที่ได้ไถ่จากการขายฝาก ซึ่งเมื่อรวมระยะเวลาการได้มาซึ่ง อสังหาริมทรัพย์ก่อนการขายฝาก ระยะเวลาระหว่างการขายฝาก และระยะเวลาภายหลังจากการขายฝากแล้วเกินห้าปี

22. กิจการของรัฐวิสาหกิจในส่วนของรายรับที่ได้รับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ อันเนื่องมาจากการนำทุนบางส่วน หรือทั้งหมดมาเปลี่ยนสภาพเป็นหุ้นในรูปแบบ ของบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดตามกฎหมายว่าด้วยทุนรัฐวิสาหกิจ
23. กิจการของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) เฉพาะการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์
24. กิจการของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
25. กิจการเงินทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนาการศึกษาโรงเรียนเอกชน ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน
26. กิจการของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่กฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการมีผลใช้บังคับ
27. กิจการของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้องที่จัดตั้งขึ้น ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เฉพาะการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์และการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร
28. กิจการของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เฉพาะการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ และการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535 เป็นต้นไป
29. กิจการของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เฉพาะการโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้รับโอน เนื่องจากการให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ ของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
30. กิจการของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
31. กิจการขายข้อตกลงซื้อขายล่วงหน้า ตามกฎหมายว่าด้วยการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า ในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
32. กิจการขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่เปิดทำการ ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้นเป็นต้นไป
33. กิจการของสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) เฉพาะการให้กู้ยืมเงินแก่รัฐบาลประเทศเพื่อนบ้าน รัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการเงินของรัฐบาลประเทศเพื่อนบ้าน ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานความร่วมมือ พัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๘
34. กิจการของสถาบันคุ้มครองเงินฝากตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันคุ้มครองเงินฝาก
35. การโอนอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเกิดจากการแยกกิจการประกันชีวิต และกิจการประกันวินาศภัยออกจากกัน ตามมาตรา 127 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ.2535 หรือตามมาตรา 121 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ.2535
36. การขายอสังหาริมทรัพย์ขององค์การบริหารสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ หรือบริษัทจำกัดที่สถาบันการเงิน ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2540 ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการบริหาร สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์โดยความเห็นชอบ ของธนาคารแห่งประเทศไทย
37. การขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้ประกอบกิจการให้แก่องค์การฯ หรือบริษัทจำกัดตาม 36.
ที่มา http://www.rd.go.th/publish/682.0.html

วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ภาษีรถคันแรก




หลักเกณฑ์การคืนภาษีรถคันแรก
1. ต้องเป็นรถยนต์คันแรกของผู้ซื้อ
2. ต้องทำสัญญาซื้อขายรถยนต์ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2554-31 ธันวาคม พ.ศ.2555
3. เป็นรถยนต์ราคาขายปลีกไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อคัน
4. เป็นรถยนต์นั่ง ขนาดความจุกระบอกสูบไม่เกิน 1,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร/รถกระบะ (Pick up)/รถยนต์นั่งกึ่งบรรทุก (Double Cab)
5.เป็นรถยนต์ที่ผลิตขึ้นในประเทศ ไม่รวมถึงรถยนต์ที่ประกอบจากชิ้นส่วนนำเข้าใช้แล้วจากต่างประเทศ (รถยนต์จดประกอบ)
6. คืนเงินเท่ากับค่าภาษีตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 1 แสนบาทต่อคัน
7. ผู้ซื้อต้องมีอายุ 21 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
8. ผู้ซื้อต้องครอบครองรถยนต์ไม่น้อยกว่า 5 ปี หากผู้ซื้อรถไม่สามารถผ่อนต่อได้ หรือมีเหตุอย่างอื่น จะต้องคืนเงินภาษีที่ได้รับให้กรมสรรพสามิต หากไม่ดำเนินการ ทางกรมสรรพสามิตจะใช้วิธีการทางศาล เพื่อให้สั่งให้คืนทะเบียนรถยนต์
9. การคืนเงินจะคืนเมื่อครอบครองรถยนต์ 1 ปีไปแล้ว โดยจะเริ่มจ่ายคืนให้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ซึ่งกรมสรรพสามิตจะจ่ายผ่านทางเช็คเงินสดครั้งเดียวเต็มจำนวน
10. สามารถซื้อรถแบบเงินผ่อนผ่านไฟแนนซ์ หรือเงินสดก็ได้
11. รถมือสองไม่สามารถเข้าร่วมโครงการนี้ได้ เนื่องจากรถมือสองไม่มีภาษีสรรพสามิตในการซื้อ-ขาย


หากผู้ซื้อมีคุณสมบัติและหลักเกณฑ์ดังข้างต้นแล้ว ก็เตรียมเอกสารเพื่อยื่นขอใช้สิทธิ์ซื้อ "รถคันแรก" ได้เลย ซึ่งประกอบไปด้วย...
1. สำเนาบัตรประชาชน
2. สำเนาทะเบียนบ้าน
3. สำเนาหนังสือสัญญาเช่าซื้อ (ในกรณีเช่าซื้อ)
4. สำเนาคู่มือการจดทะเบียน
5. หนังสือยินยอมสละสิทธิ์การโอนรถยนต์คันแรกภายใน 5 ปี
6. หลักฐานการซื้อขายรถยนต์ (ใบจอง/สัญญาซื้อขาย)

ที่มา : http://men.kapook.com/view38977.html

อากรสแตมป์

                   

ตราสารที่ต้องเสียอากรแสตมป์     ฟังเสียงข่าว

        คำว่า “ตราสาร” ตามประมวลรัษฎากรหมายถึง เอกสารที่ต้องเสียอากรแสตมป์ ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตรา อากรแสตมป์ ซึ่งปัจุจบันมีทั้งหมด 28 ลักษณะตราสาร เช่น ตราสารเช่าที่กับโรงเรือน เช่าซื้อทรัพย์สิน จ้างทำของ กู้ยืมเงิน ฯลฯ อากรแสตมป์เป็นภาษีอากรที่จัดเก็บจากการกระทำตราสาร โดยคำว่า กระทำ หมายความว่า การลงลาย มือชื่อตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ผู้มีหน้าที่เสียอากรแสตมป     ฟังเสียงข่าว

ผู้มีหน้าที่เสียอากรแสตมป์ มีดังนี้ 
      1.   บุคคลตามที่ระบุไว้ในช่องที่ 3 ของบัญชีอัตราอากรแสตมป์ เช่น ผู้ให้เช่าผู้โอน ผู้ให้กู้ ผู้รับประกันภัย ฯลฯ

      2.   ถ้าตราสารทำขึ้นนอกประเทศ ให้เป็นหน้าที่ของผู้ทรงตราสารคนแรกในประเทศเป็น ผู้เสียอากรภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับตราสารนั้น

            ถ้าหากไม่ได้ปฏิบัติตามความข้างต้น ผู้ทรงคนใดคนหนึ่งต้องเสียอากรแล้วจึงยื่นตราสารเพื่อให้จ่ายเงิน รับรอง สลักหลัง โอนหรือถือเอาประโยชน์ได้

            ผู้ทรงตราสารคนใด ได้ตราสารตามความข้างต้นไว้ในครอบครองก่อนพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับตราสารนั้น จะเป็นผู้เสียอากรก็ได้โดยมีสิทธิไล่เบี้ยจากผู้ทรงคนก่อนๆ

      3.   ตั๋วเงินที่ยื่นให้ชำระเงิน มิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์ ผู้รับตั๋วจะเสียอากรและใช้สิทธิไล่เบี้ยจาก ผู้มีหน้าที่เสียอากร หรือหักค่าอากรจากเงินที่จะชำระก็ได้

      4.   ผู้มีหน้าที่เสียอากร ตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ อาจตกลงให้คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง เป็นผู้เสียอากรแทนตนก็ได้ เว้นแต่กรณีตาม 



ที่มาhttp://www.rd.go.th
space

วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ความหมายของภาษีอากร

ความหมายของภาษีอากร

ภาษีอากร กลุ่มนักวิชาการด้านภาษีอากรได้แบ่งความหมายไว้เป็น 2 แนวทางดังนี้
 แนวทางที่หนึ่ง ภาษีอากร คือ สิ่งที่รัฐบาลบังคับเก็บจากราษฎร และนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวม โดยมิได้มีสิ่งตอบแทนโดยตรงแก่ผู้เสียอากร
 แนวทางที่สอง ภาษีอากร คือ เงินได้หรือทรัพยากรที่เคลื่อนย้ายจากภาค             เอกชนไปสู่ภาครัฐบาล แต่ไม่รวมถึงการกู้ยืมหรือขายสินค้าหรือให้บริการในราคาทุนโดยรัฐบาล


ความหมายของการบัญชี

การบัญชี คือ  การจัดการข้อมูลทางการเงิน ซึ่งได้แก่ การเก็บรวบรวมบันทึก จำแนก และสรุปผล เพื่อจัดทำรายงานทางการเงิน
 ความหมายของการบัญชีการเงินและการบัญชี                    ภาษีอากร

การบัญชีการเงิน คือ การจัดทำบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีเพื่อจัดทำงบการเงินเสนอต่อเจ้าของกิจการหรือบุคคลภายนอก
 การบัญชีภาษีอากร (Tax Accounting) เป็นการนำหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปหรือมาตรฐานการบัญชีมาปรับให้สอดคล้องกับประมวลรัษฎากรและกฎหมายภาษีอากรต่างๆ

สาระสำคัญของพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543

1.  กำหนดผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ได้แก่
 -  ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
 -  บริษัทจำกัด
 -  บริษัทมหาชนจำกัด
 -  นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
 -  กิจกรรมร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
 สำหรับ บุคคลธรรมดาและห้างหุ้นส่วนที่ไม่ได้จดทะเบียน ไม่ต้องจัดทำบัญชี เว้นแต่รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจะออกประกาศให้เป็นผู้ที่มี หน้าที่จัดทำบัญชี

2.  กำหนดความรับผิดชอบในการจัดทำบัญชี
 2.1  ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
 1)  ต้องจัดให้มีการทำบัญชีให้ถูกต้องตามรายละเอียด หลักเกณฑ์ และวิธีการตามที่กฎหมายกำหนดนับแต่วันเริ่มทำบัญชี
 2)  ต้องส่งมอบเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้แก่ผู้ทำบัญชีให้ถูกต้องครบถ้วน

3)  ต้อง ปิดบัญชีและจัดทำงบการเงินโดยมีรายการย่อตามที่อธิบดีประกาศกำหนดโดยความ เห็นชอบของรัฐมนตรี พร้อมทั้งยื่นงบการเงินต่อสำนักงานกลางบัญชีหรือสำนักงานบัญชีประจำท้องที่
 4)  ต้องจัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดย           ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
 5)  ต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่ทำการหรือสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำการผลิตหรือเก็บสินค้าเป็นประจำ
 6)  ต้องจัดให้มีผู้ทำบัญชีซึ่งเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีกำหนด
 7)  มีหน้าที่ควบคุมดูแลผู้ทำบัญชีให้จัดทำบัญชีให้ตรงต่อความเป็นจริง และถูกต้องตามกฎหมาย
 2.2  ผู้ทำบัญชี
 1)  ต้อง จัดทำบัญชีเพื่อให้มีการแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี โดยมีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้ถูกต้องครบถ้วน

2)  ต้อง ลงรายการเป็นภาษาไทย หากลงรายการเป็นภาษาต่างประเทศ ให้มีภาษาไทยกำกับ หากลงรายการเป็นรหัสบัญชี ให้มีคู่มือ คำแปลรหัสเป็นภาษาไทยไว้
 3.  กำหนดอำนาจในการตรวจสอบบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี

4.  บทกำหนดโทษ4.1  ความผิดที่มีระวางโทษปรับ
 4.2  ความผิดที่มีระวางโทษปรับและจำคุก
 กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำบัญชี
 1.  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
 2.  พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด
 3.  พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
 4.  ประมวลรัษฎากร


การจัดทำบัญชีตามประมวลรัษฎากร

1.  การจัดทำบัญชีของผู้มีหน้าที่เสียภาษี


1.1  การจัดทำบัญชีตามมาตรา 17 วรรคสอง
 -  ให้ อธิบดีโดยอนุมัติรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งบุคคลทั่วไปให้มีบัญชีพิเศษ และให้กรอกข้อความที่ต้องการลงในบัญชีนั้น คำสั่งเช่นว่านี้ให้ประกาศในราชกิจจา-             นุเบกษา
 -  ให้ อธิบดีมีอำนาจกำหนดให้ผู้ยื่นรายการหรือผู้เสียภาษีอากรทำบัญชีงบดุลหรือ บัญชีอื่นๆ แสดงรายการหรือแจ้งข้อความใดๆ และยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมิน พร้อมกับการยื่นรายการตามแบบแสดงรายการที่อธิบดีกำหนด
 อธิบดีกรมสรรพากรได้ออกประกาศหลายฉบับ โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 วรรคสอง ให้ผู้เสียภาษีจัดทำบัญชีและบัญชีพิเศษดังนี้
 1)  ผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ให้จัดทำบัญชีแสดงรายได้หรือรายรับเป็นประจำวัน
 2)  ผู้มีหน้าที่เสียภาษีที่มีธุรกรรมตามประกาศอธิบดีฯ ให้จัดทำบัญชีพิเศษตามแบบที่กำหนด
 1.2  การจัดทำรายงานภาษีมูลค่าเพิ่มและรายงานภาษีธุรกิจเฉพาะ
 1)  ให้ ผู้ประกอบกิจการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจัดทำรายงานเกี่ยวกับการเสียภาษี มูลค่าเพิ่มดังต่อไปนี้ โดยให้จัดทำเป็นรายสถานประกอบการ (มาตรา 87)
 (1)  รายงานภาษีขาย
 (2)  รายงานภาษีซื้อ
 (3)  รายงานสินค้าและวัตถุดิบ (กรณีที่ผลิตและ/หรือขายสินค้า)
 2)  ให้ ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะจัดทำรายงานแสดงรายรับก่อนหักรายจ่าย ที่ต้องเสียภาษีและรายรับที่ไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีตามที่อธิบดีกำหนด และให้จัดทำโดยแยกตามรายสถานประกอบการ (มาตรา 91/14)
 2.  การจัดทำงบการเงิน
 3.  การตรวจสอบและรับรองบัญชี          
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี (ก้าวหน้า)
หลักเกณฑ์การบัญชีเพื่อคำนวณกำไรสุทธิ

1.  คำนิยามขององค์ประกอบของงบการเงิน

1.1  สินทรัพย์ หมายถึง ทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของกิจการ ทรัพยากรดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีตซึ่งกิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์ เชิงเศรษฐกิจจากทรัพยากรนั้นในอนาคต
 1.2  หนี้สิน หมายถึง ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการ ภาระผูกพันดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งการชำระภาระผูกพันนั้นคาดว่าจะส่งผลให้กิจการสูญเสียทรัพยากรที่มี ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ
 1.3  ส่วนของเจ้าของ หมายถึง ส่วนได้เสียคงเหลือในสินทรัพย์ของกิจการหลังจากหักหนี้สินทั้งสิ้นออกแล้ว
 1.4  รายได้ หมายถึง การเพิ่มขึ้นของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชีในรูปกระแสเข้าหรือ การเพิ่มค่าของสินทรัพย์ หรือการลดลงของหนี้สิน อันส่งผลให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ไม่รวมถึงเงินทุนที่ได้รับจากเจ้าของ
 1.5  ค่าใช้จ่าย หมายถึง การลดของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชีในรูปของกระแสออก หรือการลดลงของสินทรัพย์ หรือการเพิ่มขึ้นของหนี้สิน อันส่งผลให้ส่วนของเจ้าของลดลง ทั้งนี้ไม่รวมถึงการแบ่งปันส่วนทุนให้กับผู้มีส่วนร่วมในส่วนของเจ้าของ
 2.  การรับรู้รายการ
 2.1  การรับรู้รายได้ ให้รับรู้ในงบกำไรขาดทุน เมื่อเข้าเงื่อนไขทั้ง 2 ประการ ดังนี้
 1)  เมื่อประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตเพิ่มขึ้น เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์ หรือส่วนที่ลดลงของหนี้สิน
 2)  เมื่อกิจการสามารถวัดค่าของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างน่าเชื่อถือ
2.2  การรับรู้ค่าใช้จ่าย ให้รับรู้ในงบกำไรขาดทุน เมื่อเข้าเงื่อนไขทั้ง                    2 ประการคือ
 1)  เมื่อประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตลดลง เนื่องจากการลดลงของสินทรัพย์ หรือการเพิ่มขึ้นของหนี้สิน
 2)  เมื่อกิจการสามารถวัดค่าของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างน่าเชื่อถือ
 3.  ข้อสมมติในการจัดทำงบการเงิน
 3.1  เกณฑ์คงค้าง
 3.2  หลักการดำเนินงานต่อเนื่อง

 เงินได้พึงประเมินเพื่อคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมิน ค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อน
การคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
 1.  เกณฑ์ที่ใช้ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
 2.  การผ่อนปรนการใช้เกณฑ์สิทธิ
 3.  เงื่อนไขเกี่ยวกับรายได้และค่าใช้จ่าย
 ภาระหน้าที่ของผู้มีหน้าที่เสียภาษี

 1.  ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  1.1  ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี
  1.2  ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี
 2.  ภาษีเงินได้นิติบุคคล
 2.1  ภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี
 2.2  ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี
 3.  ภาษีมูลค่าเพิ่ม
 3.1  ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าและ/หรือให้บริการในราชอาณาจักร
 3.2  ผู้ประกอบการที่จ่ายค่าบริการที่ทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
 4.  ภาษีธุรกิจเฉพาะ


ความรับผิดชอบของผู้มีหน้าที่เสียภาษี

1.  ความรับผิดทางอาญา
 2.  ความรับผิดทางแพ่ง


  การขอคืนภาษี

 1.  ให้ ผู้ที่ชำระภาษีไว้เกินขอคืนภาษีได้ภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายของกำหนดเวลายื่นรายการภาษีหรือนับแต่วันที่ยื่นรายการ (กรณียื่นเกินกว่ากำหนดเวลา) หรือนับแต่วันได้รับแจ้งค่าวินิจฉัยอุทธรณ์ หรือวันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด แล้วแต่กรณี โดยยื่นคำร้อง (แบบ ค. 10) ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่เขต การขอคืนภาษีในต่างจังหวัดให้ยื่นต่อผู้ว่าราชการจังหวัด ณ ที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ โดยให้แนบเอกสารที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน ซึ่งจะได้รับคืนเป็นเช็คสั่งจ่ายผู้ขอคืนภาษี

ผู้ มีอำนาจสั่งคืนภาษีจะพิจารณาคืนให้ภายใน 60 วัน นับแต่วันได้คำร้อง โดยแจ้งเป็นหนังสือ (แบบ ค. 20) ไปยังผู้ขอคืนเพื่อแจ้งการโอนเงินค่าภาษีที่ขอคืน หรือแจ้งให้ไปรับคืนค่าภาษีได้ และกรอกข้อความและลงนามในช่องขอคืนเงินภาษีพร้อมทั้งแนบเอกสารที่เกี่ยวข้อง ให้ครบถ้วน
 2.  ผู้ที่ชำระภาษี หรือถูกหักภาษีไว้เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องเสีย จะขอคืนภาษีโดยไม่ยื่นคำร้อง (แบบ ค. 10) ก็ได้ ซึ่งต้องรอให้ถึงระยะเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำปี และกรอกข้อความลงนามในช่องขอคืนเงินภาษีพร้อมทั้งแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องให้ ครบถ้วน

อำนาจการประเมินภาษี

สรุปอำนาจของเจ้าพนักงานประเมินภาษีในการประเมินภาษีอากร

1.  ใน กรณีที่จำเป็นเพื่อรักษาประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากร เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจที่จะประเมินเรียกเก็บภาษีก่อนถึงกำหนดเวลายื่น รายการได้ตามมาตรา 18 ทวิ
 2.  ประเมิน ภาษีตามรายการที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้ยื่นแบบแสดงรายการไว้ ถ้าประเมินแล้วมีภาษีอากรที่ต้องเรียกเก็บเพิ่ม เจ้าพนักงานประเมินต้องแจ้งจำนวนภาษีอากรไปยังผู้เสียภาษีตามมาตรา 18 และมาตรา 88/53.  ประเมิน ภาษีตามรายการที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้ยื่นรายการไม่ครบถ้วน หรือไม่ยื่นรายการมาไต่สวนหรือออกหมายเรียกพยานคำสั่งให้นำบัญชีหรือพยาน หลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาแสดงได้ ทั้งนี้การออกหมายเรียกดังกล่าวต้องกระทำภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 18 มาตรา 23 มาตรา 27 จัตวา มาตรา 88 และมาตรา 88/6
 4.  เข้า ไปในสถานประกอบการหรือสถานที่อื่นที่เกี่ยวข้องระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระ อาทิตย์ตกหรือระหว่างเวลาทำการของผู้ประกอบการ และทำการตรวจสอบเพื่อให้ทราบว่าได้มีการปฏิบัติตามประมวลรัษฎากรหรือไม่โดย ให้เจ้าพนักงานแสดงบัตรประจำตัวของผู้ที่เกี่ยวข้องเมื่อเข้าไปทำการตรวจสอบ ตามมาตรา 88/3
 5.  อำนาจการประเมินเงินได้ เจ้าพนักงานประเมินภาษีมีอำนาจในการประเมินภาษีตามประมวลรัษฎากร
 6.  อำนาจในการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 88 และมาตรา 91/21(5)

ที่มา http://planet.kapook.com/buncheepasi/blog/viewnew/31831