บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอนในราวิชาอินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน

วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วิธีการเสียภาษี



การชำระภาษีด้วยวิธีใดบ้าง ?
 
       การชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา นอกจากผู้เสียภาษี จะชำระภาษีโดยการ ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้ว ถ้าในการยื่นแบบ แสดงรายการ และคำนวณภาษี ตามแบบแสดงรายการ ที่ยื่นนั้น มีภาษีที่ต้องชำระ หรือต้องชำระเพิ่มเติมอีก ก็ให้ชำระ หรือชำระเพิ่มเติม ต่อเจ้าหน้าที่สรรพากร พร้อมกับ การยื่นแบบนั้น โดยเจ้าหน้าที่ผู้รับชำระ จะออกหลักฐานใบเสร็จ แสดงการรับเงินภาษี และถือเป็นหลักฐาน แสดงการยื่นแบบฯ ให้กับ ผู้ยื่นแบบแสดงรายการ ทุกราย การชำระภาษีเลือกวิธีการชำระได้ดังนี้
 
1.
ชำระด้วยเงินสด 
  
2.
ชำระด้วยบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ได้เฉพาะที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตกรุงเทพมหานคร (โดยผู้ถือบัตรอิเล็กทรอนิกส์เป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียม)
2.1  บัตรเครดิต ธนาคารกรุงไทย (KTC)   ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB)   ธนาคารกสิกรไทย (KBANK)
2.2  บัตร TAX SMART CARD  ของธนาคารกรุงเทพ  ธนาคารกสิกรไทย  และธนาคารกรุงไทย
  
3.
ชำระด้วยเช็คหรือดราฟต์
3.1 เช็คที่ชำระต้องเป็นเช็ค 4 ประเภท ได้แก
(1) เช็คธนาคารแห่งประเทศไทย (เช็คประเภท ก.)
(2) เช็คที่มีธนาคารค้ำประกัน (เช็คประเภท ข.)
(3) เช็คที่ธนาคารเซ็นสั่งจ่าย (เช็คประเภท ค.)
(4) เช็คที่ผู้มีหน้าที่ชำระเงินภาษีอากรเป็นผู้เซ็นสั่งจ่าย และใช้ชำระโดยตรง (เช็คประเภท ง.)
การใช้เช็คประเภท ง. ให้ปฏิบัติดังนี้
 ( ก )
    กรณีใช้ชำระภาษีในกรุงเทพมหานคร และในจังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาคร (เฉพาะอำเภอเมืองสมุทรสาคร และอำเภอกระทุ่มแบน) จังหวัดนครปฐม (เฉพาะอำเภอสามพราน) และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (เฉพาะอำเภอบางปะอิน) ต้องเป็นเช็คของธนาคาร หรือสาขาธนาคาร ซึ่งตั้งอยู่ใน ท้องที่ใดท้องที่หนึ่งข้างต้นเท่านั้น
   
 ( ข )
    กรณีใช้ชำระภาษีในจังหวัด (อำเภอ) อื่นนอกจาก (ก) ให้ใช้ได้เฉพาะกรณีที่เปิดบัญชีเงินฝากไว้กับธนาคารหรือ สาขาธนาคารซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดท้องที่อันเป็นภูมิลำเนาเท่านั้น
3.2 การสั่งจ่ายเช็คหรือดราฟต์ ให้ขีดคร่อม และสั่งจ่ายดังนี้
(1) ในกรุงเทพมหานคร ให้สั่งจ่าย “กรมสรรพากร” กับขีดฆ่าคำว่า “ผู้ถือ” ออก
(2) ในต่างจังหวัด
 ( ก )กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 และชำระภาษีที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
หรือธนาคารด้วยเช็คประเภท ง. ให้สั่งจ่ายแก่ “กรมสรรพากร” ถ้าเป็นเช็คประเภท ก. ข. 
ค. ให้ติดต่อสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
   
 ( ข )กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 และชำระภาษีที่ธนาคาร
  - กรณียื่นแบบฯ ที่ ธนาคารกรุงไทย ให้สั่งจ่าย “กรมสรรพากร” และขีดฆ่าคำว่า
“ผู้ถือ” ออก
   
  - กรณียื่นแบบฯ ที่ ธนาคารอื่น ๆ นอกเหนือ จาก ธนาคารกรุงไทย ให้สั่งจ่าย
“สรรพากรอำเภอ..... (ระบุชื่ออำเภอ)” และขีดฆ่าคำว่า “ผู้ถือ” ออก
 
หลักเกณฑ์การใช้เช็คหรือดราฟต์
( 1 )กรณียื่นที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา เช็คทุกประเภทหรือดราฟต์ ต้องลง วันที่ในเช็ค ในวันที่ยื่นแบบฯ หรือ ก่อนวันที่ที่ยื่นแบบฯ ไม่เกิน 15 วัน สำหรับเช็คประเภท ก. ข. ค. หรือดราฟต์ หรือไม่เกิน 7 วัน สำหรับเช็คประเภท ง.
  
( 2 )กรณียื่นที่ธนาคาร/ที่ทำการไปรษณีย์ เช็คทุกประเภท หรือดราฟต์ที่ชำระภาษี ต้องลงวันที่ในเช็คในวันที่ยื่นแบบฯ หรือก่อนวันที่ยื่นแบบฯ ไม่เกิน 7 วัน
  
( 3 )ห้ามใช้เช็คลงวันที่ล่วงหน้า
  
( 4 )ห้ามใช้เช็คหรือดราฟต์โอนสลักหลัง
  
( 5 )ห้ามใช้เช็คหรือดราฟต์ที่มีจำนวนเงินสูงกว่าจำนวนภาษีอากรที่ต้องชำระ
  
( 6 )การชำระภาษี จะถือว่าสมบูรณ์ ต่อเมื่อ กรมสรรพากร ได้รับเงิน ตามเช็ค หรือ ดราฟต์ครบถ้วนแล้ว
  
  
4.
ชำระด้วยธนาณัติ
1ผู้มีเงินได้ที่ยื่นแบบฯ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 ต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร
  
2ส่งธนาณัติเท่ากับจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระ ไปพร้อมกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 (ห้ามหักค่าธรรมเนียม ในการส่งธนาณัติ) โดยสั่งจ่าย


ที่มา: http://www.rd.go.th/publish/560.0.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น