บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอนในราวิชาอินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน

วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ภาษีอากร

การประเมินจัดเก็บภาษีอากร

    การประเมินจัดเก็บภาษีอากร           มีอยู่ 4 วิธี ได้แก่
    4.1       การประเมินภาษีโดยการประเมินตนเอง (Self  assessment) ภาษีอากรส่วนใหญ่ ผู้มีหน้าที่เสีย ภาษีอากรเป็นผู้ดำเนินการประเมินตนเอง แล้วยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีอากร ตามจำนวนที่ พึงต้องชำระ ภายในกำหนดเวลาและสถานที่ ที่กฎหมายได้กำหนดไว้ หากประเมินแล้วไม่ถูกต้อง ครบถ้วน เจ้าพนักงานอาจประเมินภาษีเพิ่มเติมให้ถูกต้องได้ ภาษีประเภทที่ต้องประเมินตนเองเช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีนิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นต้น
    4.2       การประเมินภาษีโดยจ้าพนักงาน(Authoritative assessment) เป็นวิธีที่กำหนดให้ผู้เสียภาษีมีหน้าที่ยื่นแบบ แสดงรายการเพื่อแสดงรายละเอียดต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับการคำนวณภาษีอากรต่อเจ้าพนักงาน แต่ยังไม่ต้องชำระภาษี ณ เวลานั้น เมื่อเจ้าพนักงานตรวจสอบรายละเอียดเสร็จแล้วก็จะทำการ ประเมินภาษีและแจ้งให้ผู้เสียภาษีทราบเพื่อมาชำระภาษีภายในวันและสถานที่ที่กำหนดไว้ ภาษีที่ ประเมินด้วยวิธีได้แก่ ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน เป็นต้น นอกจากนี้หากว่าผู้มีหน้าที่ เสียภาษีประเมินตนเองไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ เจ้าพนักงานก็มีอำนาจประเมินให้ผู้มีหน้าที่เสีย ภาษีอากร ต้องรับผิดชำระเงินเพิ่ม และหรือ เบี้ยปรับเพิ่มขึ้น นอกเหนือ จากภาษีอากรที่ต้องเสีย
    4.3       การประเมินภาษีโดยการหักภาษี ณ ที่จ่าย(With holding) หลายกรณี กฎหมายกำหนด ให้ผู้ จ่ายเงินได้เป็นผู้ดำเนินการหักภาษีจากจำนวนเงินที่จ่าย แล้วนำส่งต่อเจ้าพนักงานภายในกำหนด เวลา ภาษีที่ถูกหักไว้นี้ มักถือเป็นเครดิตของผู้มีหน้าที่เสียภาษีเมื่อถึงกำหนดเวลา ผู้มีหน้าที่เสีย ภาษีอาจได้รับเงินคืน ถ้าภาษีที่ถูกหักไว้เกินกว่าจำนวนภาษีที่พึงต้องเสีย
 

4.4  การชำระภาษีล่วงหน้า (Prepaymen)   คือการชำระภาษีก่อนถึงกำหนดยื่นรายการ  โดยภาษีที่ชำระถือป็นเครดิตภาษีในการชำระภาษีเมื่อถึงกำหนดยื่นรายการ เช่นกรณีผู้ที่มีเงินได้จะเดินทางออกนอกประเทศ  ต้อง
เสียภาษีเงินได้ก่อนถึงกำหนดยื่นรายการ   หรือกรณีได้รับค่าตอบแทนสัญญาระยะยาว เช่นเช่าที่มีกำหนดเวลาเช่าเป็นระยะเวลานาน ผู้เสียภาษีสามารถยื่นแบบ ภงด.93  ชำระภาษีล่วงหน้าเป็นรายปีเฉลี่ยตามอายุแห่งสัญญาเช่า     

    5.         การอุทธรณ์ภาษีอากร
กรณี เกิดปัญหาข้อขัดแย้งพิพาทกันเกี่ยวกับข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมาย ระหว่างผู้
มีหน้าที่เสียภาษีอากรและผู้จัดเก็บภาษีอากรเกี่ยวกับจำนวนภาษีอากรที่ต้องชำระ หรืออำนาจการ
ประเมินเรียกเก็บภาษีอากร หากผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรต้องการให้มีการพิจารณาทบทวนใหม่
กฎหมายมักกำหนด ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีหาข้อยุติให้ครบถ้วน
ก่อน มิฉะนั้นผู้เสียภาษีอากรอาจเสียสิทธิในการนำคดีขึ้นสู่ศาลได้
        6.การบังคับ (Sanction)  ได้แก่เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และโทษทางอาญา
ผู้ไม่ชำระภาษีอากร จะต้องรับผิดในจำนวนภาษีอากรที่ไม่ชำระ พร้อมด้วยเบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่ม ถ้าฝ่าฝืนไม่ยอมชำระซึ่งถือเป็นโทษทางแพ่ง นอกจากนี้กฎหมายมักให้อำนาจเจ้าพนักงานดำเนินการยึดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากรไปขายทอดตลาด เพื่อนำเงินไปชำระภาษีอากรค้างได้โดยไม่ต้องฟ้องศาล นอกจากนี้ อาจต้องรับโทษทางอาญา เช่น เสียค่าปรับ และหรือต้องระวางโทษจำคุกด้วย
ที่มา http://www.thaiblogonline.com/taxrdkhonkaen.blog?PostID=43043

โครงสร้างของภาษี

โครงสร้างของภาษีอากร
                เพื่อให้เข้าใจถึงภาษีอากร จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรู้ถึงโครงการของภาษีอากร โดยโครงสร้างของภาษีอากรนั้นประกอบไปด้วย 6 ข้อหลักดังนี้
        1.     ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร ซึ่งภาษีอากรแต่ละประเภทได้กำหนดสถานะผู้มีหน้าที่เสียภาษี และวิธีการเสียภาษีแตกต่างกันแล้วแต่กรณี ภาษีที่จัดเก็บจากรายได้นั้น ครอบคลุมผู้มีรายได้ที่ เป็นบุคคลธรรมดา คณะบุคคล และนิติบุคคลประเภทต่าง ๆ โดยมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้แตกต่าง กันไป ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บจากผู้มีรายได้ที่เป็นบุคคลทั่วไปและหน่วยภาษีที่ได้ กำหนดไว้เป็นพิเศษ สำหรับภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้ปิโตรเลียมจัดเก็บจากนิติบุคคลที่ มีรายได้ เป็นต้น ภาษีบางประเภทจัดเก็บจากการบริโภคสินค้าและบริการ ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นภาษีที่จัดเก็บจากผู้ประกอบธุรกิจการค้าซึ่งสามารถผลักภาระภาษีไปให้ ผู้บริโภคได้ นอกจากนี้ผู้ทำตราสารบางประเภทอาจอยู่ในข่ายต้องเสียภาษีที่เรียกว่า อากรแสตมป์ อีกด้วย  ซึ่งโดยสรุปแล้วผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรคือบุคคล
ธรรมดา คณะบุคคล และนิติบุคคลผู้มีเงินได้นั่นเอง
        2.     ฐานภาษีอากร คือ สิ่งที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการจัดเก็บภาษี โดยนำอัตราภาษีไปคูณกับฐาน ภาษี จะได้จำนวนภาษีที่ต้องชำระ ซึ่งฐานภาษีที่จะนำมาเป็นเป็นในการจัดเก็บภาษีมีดังนี้
       2.1 ฐานรายได้ (Income Base) คือการจัดเก็บภาษีจากความสามารถในการทำได้รายได้ของบุคคลธรรมดาและรายได้ของนิติบุคคล
        2.2 ฐานภาษีเกี่ยวกับการบริโภค (Consumption Base) คือการเก็บภาษีจากการ บริโภคสินค้าหรือบริการของประชาชน ภาษีที่เก็บจากฐานการบริโภค ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษี
สรรพสามิต ภาษีนำเข้า ภาษีส่งออก เป็นต้น
        2.3 ฐานภาษีเกี่ยวกับความมั่งคั่ง (Wealth Base) หรือเรียกอีกอย่างว่าฐานภาษี ทรัพย์สิน ภาษีที่เก็บโดยอาศัยความมั่งคั่งเป็นฐาน เช่นภาษีที่ดิน
              2.3.1          ทรัพย์สินเฉพาะอย่าง นิยมจัดเก็บจากทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ หรือ สังหาริมทรัพย์ประเภทที่ระบุหรือกำหนดมูลค่าได้ง่าย เช่น ภาษีรถยนต์ เก็บจากทรัพย์สิน ประเภทรถยนต์ ภาษีบำรุงท้องที่ของไทยเก็บจากทรัพย์สินประเภทที่ดินหรือภาษีโรงเรือนและที่ดิน เก็บจากทรัพย์สินประเภทโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ รวมกับที่ดิน ซึ่งโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้นตั้งอยู่ เป็นต้น


               2.3.2         ทรัพย์สินโดยรวม จะต้องนำมูลค่าของทรัพย์สินทั้งหมดมารวมกัน เพื่อ เป็นฐานในการประเมินภาษี ทำให้เกิดปัญหาในการบริหารจัดเก็บให้ได้ผลเต็มเม็ดเต็มหน่วยอยู่ มาก ทั้งในด้านการติดตามรวบรวมทรัพย์สินของผู้เสียภาษีแต่ละรายให้ครบถ้วน และในด้านการ ประเมินราคาทรัพย์สินบางประเภท เช่น เพชรพลอย ศิลปวัตถุทั้งหลาย นอกจากฐานภาษีสำคัญ 3 ฐาน ที่กล่าวมานี้แล้ว ในการเรียกเก็บภาษีโดยทั่วไปยังมีฐานภาษีอย่างอื่น เช่น การจัดเก็บภาษี รัชชูปการ ซึ่งเรียกเก็บเป็นรายหัวจากชายฉกรรจ์ แท่นการเข้ารับราชการทหาร การจัดเก็บภาษีการ เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งเรียกเก็บจากผู้ถือสัญชาติไทย หรือจากคนต่างด้าวที่ได้รับ อนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยเป็นรายครั้งของการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร ค่า ใบอนุญาตต่างด้าว ซึ่งเก็บจากคนต่างด้าวที่ได้ขออนุญาตมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย เป็นต้น
     2.4      ฐานสิทธิพิเศษในการประกอบการ คือการเก็บภาษีจากการที่รัฐให้ใบอนุญาต ในการทำกิจการบางอย่างแต่ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมให้แก่รัฐ เช่น ใบอนุญาตขายสุรา การผูกขาดเก็บรังนกนางแอ่น เป็นต้น
      3.       อัตราภาษี หมายถึงอัตราที่เรียกเก็บจากฐานภาษีต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นเพื่อนำไป คำนวณจำนวนภาษีที่ต้องจ่าย อัตราภาษีจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่
    3.1       อัตราแบบคงที่ อัตราภาษีอากรไม่เปลี่ยนแปลง แม้ว่าจำนวนของฐานภาษี อากรจะเปลี่ยนแปลงไป อัตราภาษีประเภทนี้ เช่น อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ร้อยละ 30 และ อัตรา
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ร้อยละ 7 เป็นต้น
     3.2      อัตราภาษีแบบก้าวหน้า อัตราภาษีประเภทนี้จะสูงขึ้นเมื่อฐานภาษีมีมูลค่า มากขึ้น เช่นการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งมีอัตราภาษีตั้งแต่ร้อยละ 5 ถึง ร้อยละ 37
     3.3      อัตราภาษีแบบถดถอย อัตราภาษีอากรลดลง แม้ว่าจำนวนของฐานภาษีอากร
จะเพิ่มขึ้น เช่น อัตราภาษีบำรุงท้องที่ เป็นต้น
ที่มา http://www.thaiblogonline.com/taxrdkhonkaen.blog?PostID=43043

ลักษณะของภาษีอากรที่ดี

ลักษณะของภาษีอากรที่ดี
Adam Smith นักเศรษฐศาสตร์ผู้มีชื่อเสียง ชาวอังกฤษ ซึ่งถือเป็นบิดาแห่งการภาษีอากรได้
กล่าวไว้ในหนังสือ The Wealth of Nation เมื่อปี ค.ศ. 1776 ว่าหลักการจัดเก็บภาษีอากรที่ดีนั้นจะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 4 ประการ หรือที่เรียกว่า Adam Smith’s Canons ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
          1. ต้องให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้เสียภาษี โดยจะต้องยึดหลักว่าผู้ที่มีรายได้มากควร จะต้องเสียภาษีมาก คนมีรายได้น้อยควรเสียภาษีน้อยตามกำลังความสามารถในการชำระภาษี(Ability to Pay) ของแต่ละคน
          2. ต้องกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดเก็บให้รัดกุมและแน่นอน เช่น ผู้เสียภาษีจะต้อง ชำระภาษีเมื่อใด ที่ไหน ถ้าผู้ใดละเลย หลีกเลี่ยง หรือล่าช้า จะต้องได้รับโทษอย่างไร เป็นต้น
         3. ต้องอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เสียภาษีมากที่สุด เช่น ควรกำหนดช่วงเวลาในการชำระ ภาษีให้นานพอสมควร เพื่อให้โอกาสแก่ผู้เสียภาษี และควรใช้วิธีการที่ง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อน เพื่อมิ ให้ผู้เสียภาษีเกิดความเบื่อหน่าย หรือให้ผ่อนชำระได้ในกรณีที่ต้องเสียภาษีเป็นจำนวนมาก เป็นต้น
         4. ต้องถือหลักจัดเก็บในอัตราต่ำแต่เก็บได้มากและทั่วถึง ดีกว่าที่จะเก็บในอัตราสูงแต่เก็บได้น้อยเนื่องจากเก็บแต่เฉพาะคนที่มีรายได้มาก อีกประการหนึ่งก็คือ การเรียกเก็บภาษีในอัตราสูง ย่อมเป็นการยั่วยุให้ผู้เสียภาษีเกิดความรู้สึกเสียดายเงินและพยายามหลีกเลี่ยงภาษี

                 โดยสรุปแล้วการจัดเก็บภาษีอากรที่ดีต้องอาศัยหลักการต่อไปนี้
        1. หลักความยุติธรรม
การเสียภาษีอากรควรคำนึงถึงความสามารถหรือรายได้ของผู้ประกอบการและประชาชนผู้เสียภาษีเป็นหลักเช่น คนที่มีรายได้มากก็เสียภาษีมากคนที่มีรายได้น้อยก็อาจเสียภาษีน้อยหรือไม่เก็บเลย คนที่มีรายได้เท่าเทียมกัน ก็ควรเสียเท่ากัน
        2. หลักความแน่นอน
เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่การเก็บภาษีจะต้องมีความแน่นอน เพราะผู้ประกอบการและประชาชนผู้เสียภาษีจะได้ใช้ในการวางแผนเกี่ยวกับภาษีของตนเอง ความแน่นอนนั้นต้องแน่นอนในเรื่องดังต่อไปนี้
      2.1     เวลาที่ต้องเสียภาษี หมายความว่าการเสียภาษีอากรจะต้องมีกำหนดเวลาที่
แน่นอนว่าต้องชำระเมื่อไร เช่น ต้องยื่นแบบแสดงรายการค้าภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายให้นำส่ง ณ ที่ว่าการอำเภอหรือเขตท้องที่ภายใน 7 วันนับตั้งแต่วันสิ้นเดือน เป็นต้น
      2.2     วิธีการเสียภาษี ควรกำหนดให้ผู้เสียภาษีทราบว่าได้เงินประเภทใด เสียภาษีอย่างไร
      2.3     จำนวนภาษี ควรกำหนดอัตราภาษีที่จะต้องเสียให้แน่นอน เงินรายได้เท่าใดอยู่ใน เกณฑ์จะต้องเสียภาษีเงินได้ หรืออยู่เกณฑ์จะต้องเสียในอัตราเท่าใด หรือจะต้องเสียอย่างน้อยอย่างมากเป็นจำนวนเท่าใด
        3.     หลักความสะดวก ภาษีทุกชนิดควรให้ความสะดวกแก่ผู้เสียภาษี ทั้งวิธีการ เวลา และสถานที่ที่ต้องเสียภาษีเช่น สามารถยื่นแบบรายการผ่านอินเตอร์เนต สามารถชำระภาษีได้ผ่านที่ทำการไปรษณีย์ ธนาคาร หรือร้านสะดวกซื้อเป็นต้น
        4.     หลักความประหยัดและมีประสิทธิภาพ
ภาษีอากรที่ดีต้องพิจารณาค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บภาษีให้น้อยที่สุดโดยพิจารณาทั้งผู้จัดเก็บภาษีและผู้เสียภาษี
        5.     หลักการอำนวยรายได้  (Productivity)  การเก็บภาษีอากรจากประชาชนควรเก็บเฉพาะประเภทที่สามารถทำรายได้ได้ดีไม่ควรจัดเก็บภาษีหลายประเภทมากเกินไป  การที่ภาษีอากรจะผลิตรายได้ให้มากน้อยเพียงใด นอกจากอัตราภาษีแล้วยังขึ้นอยู่กับเงื่อนไข 2 ประการคือ

         1.ลักษณะของฐานภาษี   ได้แก่
               ฐานกว้าง  คือภาษีอากรที่จัดเก็บครอบคลุมถึงผู้เสียภาษีอากรจำนวนมากหรือมีกิจการที่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีจำนวนมาก ย่อมสามารถจัดเก็บได้มากกว่าภาษีอากรที่มีฐานแคบ
            2.ขนาดของฐานภาษี    ได้แก่การที่เก็บภาษีจากฐานที่มีขนาดใหญ่คือเก็บได้เป็นจำนวนมากจากผู้เสียภาษีแต่ละราย แม้ผู้เสียภาษีดังกล่าวจะมีจำนวนน้อย ก็สามารถเก็บภาษีได้มาก
        6.     หลักความยึดหยุ่น  การเก็บภาษีอากรควรมีความยึดหยุ่นตามสภาพภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่เปลี่ยนไป เช่นเมื่อเศรษฐกิจของประเทศดีประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นรัฐอาจเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 7% เป็น 10% เป็นต้น
        7.     หลักการยอมรับของประชาชน  การเก็บภาษีอากรที่ดีนั้น ประชาชนจะยอมรับและยินดีที่จะได้เสียภาษีมากกว่าการหลีกเลี่ยง
        8.     หลักการบริหารที่ดี   วิธีการในการจัดเก็บภาษีอากรนั้น ควรจัดเก็บอย่างมีหลักเกณฑ์ที่รัดกุม มีประสิทธิภาพในการจัดเก็บ และสามารถควบคุมการหลีกเลี่ยงภาษีอากรได้อย่างดี
ที่มาhttp://www.thaiblogonline.com/taxrdkhonkaen.blog?PostID=43043
สาระสำคัญของพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543
1.  กำหนดผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ได้แก่
-  ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
-  บริษัทจำกัด
-  บริษัทมหาชนจำกัด
-  นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
-  กิจกรรมร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร

สำหรับบุคคลธรรมดาและห้างหุ้นส่วนที่ไม่ได้จดทะเบียน ไม่ต้องจัดทำบัญชี เว้นแต่รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจะออกประกาศให้เป็นผู้ที่มีหน้าที่จัดทำบัญชี
2.  กำหนดความรับผิดชอบในการจัดทำบัญชี
2.1  ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
1)  ต้องจัดให้มีการทำบัญชีให้ถูกต้องตามรายละเอียด หลักเกณฑ์ และวิธีการตามที่กฎหมายกำหนดนับแต่วันเริ่มทำบัญชี

2)  ต้องส่งมอบเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้แก่ผู้ทำบัญชีให้ถูกต้องครบถ้วน
3)  ต้องปิดบัญชีและจัดทำงบการเงินโดยมีรายการย่อตามที่อธิบดีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรี พร้อมทั้งยื่นงบการเงินต่อสำนักงานกลางบัญชีหรือสำนักงานบัญชีประจำท้องที่
4)  ต้องจัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดย           ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
5)  ต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่ทำการหรือสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำการผลิตหรือเก็บสินค้าเป็นประจำ
6)  ต้องจัดให้มีผู้ทำบัญชีซึ่งเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีกำหนด
7)  มีหน้าที่ควบคุมดูแลผู้ทำบัญชีให้จัดทำบัญชีให้ตรงต่อความเป็นจริง และถูกต้องตามกฎหมาย
2.2  ผู้ทำบัญชี

1)  ต้องจัดทำบัญชีเพื่อให้มีการแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี โดยมีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้ถูกต้องครบถ้วน
2)  ต้องลงรายการเป็นภาษาไทย หากลงรายการเป็นภาษาต่างประเทศ ให้มีภาษาไทยกำกับ หากลงรายการเป็นรหัสบัญชี ให้มีคู่มือ คำแปลรหัสเป็นภาษาไทยไว้

3.  กำหนดอำนาจในการตรวจสอบบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี
4.  บทกำหนดโทษ4.1  ความผิดที่มีระวางโทษปรับ
4.2  ความผิดที่มีระวางโทษปรับและจำคุก
กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำบัญชี
1.  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
2.  พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด
3.  พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4.  ประมวลรัษฎากร

การจัดทำบัญชีตามประมวลรัษฎากร
1.  การจัดทำบัญชีของผู้มีหน้าที่เสียภาษี
1.1  การจัดทำบัญชีตามมาตรา 17 วรรคสอง
-  ให้อธิบดีโดยอนุมัติรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งบุคคลทั่วไปให้มีบัญชีพิเศษ และให้กรอกข้อความที่ต้องการลงในบัญชีนั้น คำสั่งเช่นว่านี้ให้ประกาศในราชกิจจา-             นุเบกษา
-  ให้อธิบดีมีอำนาจกำหนดให้ผู้ยื่นรายการหรือผู้เสียภาษีอากรทำบัญชีงบดุลหรือบัญชีอื่นๆ แสดงรายการหรือแจ้งข้อความใดๆ และยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมิน พร้อมกับการยื่นรายการตามแบบแสดงรายการที่อธิบดีกำหนด
อธิบดีกรมสรรพากรได้ออกประกาศหลายฉบับ โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 วรรคสอง ให้ผู้เสียภาษีจัดทำบัญชีและบัญชีพิเศษดังนี้
1)  ผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ให้จัดทำบัญชีแสดงรายได้หรือรายรับเป็นประจำวัน
2)  ผู้มีหน้าที่เสียภาษีที่มีธุรกรรมตามประกาศอธิบดีฯ ให้จัดทำบัญชีพิเศษตามแบบที่กำหนด
1.2  การจัดทำรายงานภาษีมูลค่าเพิ่มและรายงานภาษีธุรกิจเฉพาะ
1)  ให้ผู้ประกอบกิจการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจัดทำรายงานเกี่ยวกับการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มดังต่อไปนี้ โดยให้จัดทำเป็นรายสถานประกอบการ (มาตรา 87)
(1)  รายงานภาษีขาย
(2)  รายงานภาษีซื้อ
(3)  รายงานสินค้าและวัตถุดิบ (กรณีที่ผลิตและ/หรือขายสินค้า)
2)  ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะจัดทำรายงานแสดงรายรับก่อนหักรายจ่ายที่ต้องเสียภาษีและรายรับที่ไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีตามที่อธิบดีกำหนด และให้จัดทำโดยแยกตามรายสถานประกอบการ (มาตรา 91/14)
2.  การจัดทำงบการเงิน
3.  การตรวจสอบและรับรองบัญชี

ที่มา http://planet.kapook.com/buncheepasi/blog/viewnew/31831

ภาษีอากร

ความหมายของภาษีอากร
ภาษีอากร กลุ่มนักวิชาการด้านภาษีอากรได้แบ่งความหมายไว้เป็น 2 แนวทางดังนี้
แนวทางที่หนึ่ง ภาษีอากร คือ สิ่งที่รัฐบาลบังคับเก็บจากราษฎร และนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวม โดยมิได้มีสิ่งตอบแทนโดยตรงแก่ผู้เสียอากร
แนวทางที่สอง ภาษีอากร คือ เงินได้หรือทรัพยากรที่เคลื่อนย้ายจากภาค             เอกชนไปสู่ภาครัฐบาล แต่ไม่รวมถึงการกู้ยืมหรือขายสินค้าหรือให้บริการในราคาทุนโดยรัฐบาล

ความหมายของการบัญชี
การบัญชี คือ  การจัดการข้อมูลทางการเงิน ซึ่งได้แก่ การเก็บรวบรวมบันทึก จำแนก และสรุปผล เพื่อจัดทำรายงานทางการเงิน
ความหมายของการบัญชีการเงินและการบัญชี                    ภาษีอากร
การบัญชีการเงิน คือ การจัดทำบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีเพื่อจัดทำงบการเงินเสนอต่อเจ้าของกิจการหรือบุคคลภายนอก
การบัญชีภาษีอากร (Tax Accounting) เป็นการนำหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปหรือมาตรฐานการบัญชีมาปรับให้สอดคล้องกับประมวลรัษฎากรและกฎหมายภาษีอากรต่างๆ
ที่มา http://planet.kapook.com/buncheepasi/blog/viewnew/31831

ไม่ได้ขอให้มารัก

ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อก

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ blogger  ของ จินตนา สมสาย blog  นี้สร้างขึ้นเพื่อไว้ใช้ในการเรียนในรายวิชา  อินเตอร์เน็ตในชีวิตประวัน