บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอนในราวิชาอินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน

วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

ฐานภาษี (TAX BASE)


ฐานภาษี (TAX BASE)
   ฐานภาษี หมายถึง สิ่งที่เป็นมูลเหตุขั้นต้นที่ทำให้บุคคลต้องเสียภาษีอากร  หรือ สิ่งที่ใช้เป็นฐานในการประเมินภาษีอากร  เช่น ฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือเงินได้สุทธิ ซึ่งก็คือเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่าง ๆ แล้ว เป็นต้น
   ฐานภาษี มี 3 ประเภท คือ
   1. ฐานรายได้ เป็นฐานภาษีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดฐานหนึ่ง  เพราะเชื่อว่ารายได้เป็นเครื่องวัดความสามารถในการเสียภาษี  (ability – to -pay) ของบุคคลได้ดีที่สุด  ภาษีที่จัดเก็บจากฐานรายได้มีทั้งที่เรียกเก็บจากรายได้ของบุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล
   2. ฐานการบริโภค  หมายถึง การนำค่าใช้จ่ายในการบริโภคสินค้าหรือบริการมาเป็นฐานในการเรียกเก็บภาษีอากร  เช่น ภาษีการขายทั่วไป  ภาษีมูลค่าเพิ่ม  ภาษีสรรพสามิต เป็นต้น  ภาษีที่เก็บจากฐานการบริโภคนี้เป็นฐานภาษีที่สำคัญอีกฐานหนึ่งของประเทศกำลังพัฒนา   เพราะว่า ภาษีเก็บจากฐานการบริโภคเป็นภาษีที่เก็บค่อนข้างง่าย มีความซับซ้อนน้อยกว่าภาษีที่จัดเก็บจากฐานรายได้  และกำลังการบริโภคของประชาชนโดยทั่วไปอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับการออม
   3. ฐานทรัพย์สิน  เป็นภาษีที่เก็บจาก
               3.1).  ทรัพย์สินเฉพาะอย่าง  นิยมจัดเก็บจากทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ หรือ สังหาริมทรัพย์ประเภทที่ระบุหรือกำหนดมูลค่าได้ง่าย เช่น ภาษีรถยนต์ เก็บจากทรัพย์สินประเภทรถยนต์   ภาษีบำรุงท้องที่ของไทยเก็บจากทรัพย์สินประเภทที่ดินหรือภาษีโรงเรือนและที่ดิน เก็บจากทรัพย์สินประเภทโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ รวมกับที่ดิน ซึ่งโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้นตั้งอยู่ เป็นต้น
               3.2). ทรัพย์สินโดยรวม  จะต้องนำมูลค่าของทรัพย์สินทั้งหมดมารวมกัน เพื่อเป็นฐานในการประเมินภาษี  ทำให้เกิดปัญหาในการบริหารจัดเก็บให้ได้ผลเต็มเม็ดเต็มหน่วยอยู่มาก  ทั้งในด้านการติดตามรวบรวมทรัพย์สินของผู้เสียภาษีแต่ละรายให้ครบถ้วน   และในด้านการประเมินราคาทรัพย์สินบางประเภท เช่น เพชรพลอย ศิลปวัตถุทั้งหลาย  นอกจากฐานภาษีสำคัญ 3 ฐาน ที่กล่าวมานี้แล้ว ในการเรียกเก็บภาษีโดยทั่วไปยังมีฐานภาษีอย่างอื่น เช่น การจัดเก็บภาษีรัชชูปการ  ซึ่งเรียกเก็บเป็นรายหัวจากชายฉกรรจ์ แท่นการเข้ารับราชการทหาร  การจัดเก็บภาษีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งเรียกเก็บจากผู้ถือสัญชาติไทย หรือจากคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยเป็นรายครั้งของการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร   ค่าใบอนุญาตต่างด้าว ซึ่งเก็บจากคนต่างด้าวที่ได้ขออนุญาตมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย เป็นต้น                       

ที่มา http://images.muangteeruk.multiply.multiplycontent.com/attachment/0/SUKA-woKCDIAAEdi@5Y1/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5.doc?nmid=146660431

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น