บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอนในราวิชาอินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน

วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

โครงสร้างทั่วไปของภาษีอากร


โครงสร้างทั่วไปของภาษีอากร  ประกอบด้วย
   1.  ภาระภาษี และการผลักภาระภาษี
   2.  ฐานภาษี
   3.  อัตราภาษี
   4.  องค์ประกอบอื่น ๆ                                      
1.ภาระภาษี  และการผลักภาระภาษี
ภาระภาษี  หมายถึง ส่วนของรายได้แท้จริงที่ลดลงอันเนื่องมาจากการจัดเก็บภาษีอากรของรัฐบาล แบ่งออกเป็น 2 นัย คือ
   1)  ภาระภาษีตามกฎหมาย หรือภาระภาษีอย่างเป็นทางการ  หมายถึง ภาระในจำนวนหนี้ภาษีอากรของผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามที่กฎหมายกำหนดไว้
   2). ภาระภาษีทางเศรษฐกิจ หรือภาระภาษีที่แท้จริง  หมายถึง ภาระภาษีที่ต้องตกอยู่กับบุคคลในขั้นสุดท้าย กล่าวคือ บุคคลผู้นั้นไม่สามารถผลักภาระภาษีต่อไปให้ผู้อื่นได้อีกแล้ว

การผลักภาระภาษี  (TAX SHIFTING) หมายถึง  การที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามที่กฎหมายกำหนดถ่ายเท หรือแบ่งภาระภาษีบางส่วนหรือทั้งหมดไปให้กับบุคคลอื่น  มี 2 วิธี คือ
   1. การผลักภาระภาษีไปข้างหน้า  เช่น  ผู้ผลิตซึ่งกฎหมายกำหนดให้มีหน้าที่เสียภาษีที่เรียกเก็บจากสินค้า อาจผลักภาระภาษีไปให้ผู้บริโภคสินค้านั้นได้โดยการขึ้นราคาสินค้า
   2. การผลักภาระภาษีไปข้างหลัง เช่น  ผู้ผลิตซึ่งกฎหมายกำหนดให้มีหน้าที่เสียภาษีที่เรียกเก็บจากสินค้า อาจผลักภาระภาษีไปให้เจ้าของปัจจัยการผลิตที่ใช้ในการผลิตสินค้านั้นได้ โดยการลดค่าจ้างแรงงาน หรือกดราคาปัจจัยการผลิต  จากผลของการผลักภาระภาษี จะเห็นได้ว่าภาระภาษีที่แท้จริงมีโอกาสตกอยู่กับบุคคล 3 กลุ่ม คือ ผู้บริโภคสินค้า  เจ้าของปัจจัยการผลิต และผู้ผลิตสินค้า  ผู้ใดจะรับภาระภาษีที่แท้จริงไว้มากน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับความสามารถในการผลักภาระภาษีของผู้ผลิตสินค้านั้น      
   การผลักภาระภาษีจะกระทำได้มากน้อยเพียงใด  ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้านด้วยกัน   เช่น
   1.  โครงสร้างของตลาด  ระดับการแข่งขันของตลาด เป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดขอบเขตของการผลักภาระภาษีอากร เช่น ถ้าเป็นตลาดที่มีการแข่งขันทางด้านผู้ผลิตน้อย หรือเป็นตลาดผูกขาด  ผู้ผลิตย่อมมีอำนาจในการกำหนดราคาสินค้าได้มาก เพราะผู้ซื้อมีโอกาสเลือกซื้อสินค้าจากผู้ผลิตได้ไม่มากราย ดังนั้น ผู้ผลิตจึงสามารถผลักภาระไปให้ผู้บริโภคโดยการขึ้นราคาสินค้าตามค่าภาษีอากรได้ง่ายกว่ากรณีที่เป็นตลาดที่มีการแข่งขันกันในระดับสูง 
   2.  ลักษณะของสินค้า  ก็มีส่วนกำหนดขอบเขตการผลักภาระภาษีได้ด้วย เช่น ถ้าเป็นสินค้าที่มีความคงทนถาวร เช่น ตู้เย็น โทรทัศน์ รถยนต์ ฯลฯ  ผู้ผลิตก็สามารถเก็บรักษาสินค้าประเภทนี้ไว้ได้นานโดยไม่เสื่อมเสีย เพื่อรอช่วงจังหวะอันเหมาะสมที่จะสามารถผลักภาระภาษีไปให้แก่ผู้บริโภคได้มาก แต่ถ้าเป็นสินค้าเน่าเสียได้ง่าย เช่น เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ ฯลฯ ผู้ขายจะเก็บสินค้าประเภทนี้ไว้ได้ไม่นาน  ทำให้รอการรอจังหวะที่จะผลักภาระไปให้ผู้บริโภค ลดน้อยลง ดังนั้นแม้ราคาสินค้าจะต่ำก็จำเป็นต้องขาย
   3.  ประเภทของภาษีอากร ก็มีส่วนสำคัญต่อการผลักภาระภาษี เช่น ภาษีท้องอ้อมเป็นภาษีที่ผลักภาระได้ง่ายกว่าภาษีทางตรง  
ที่มา http://images.muangteeruk.multiply.multiplycontent.com/attachment/0/SUKA-woKCDIAAEdi@5Y1/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5.doc?nmid=146660431

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น