บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอนในราวิชาอินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

การจำแนกประเภทภาษีอากร




การจำแนกประเภทภาษีอากร
          1. จำแนกประเภทตามระดับรัฐบาลผู้จัดเก็บ  มี 2 ประเภทคือ
               1.1 ภาษีอากรที่จัดเก็บโดยรัฐบาลกลาง หรือภาษีระดับประเทศ (NATIONAL TAXES)
               1.2 ภาษีอากรที่จัดเก็บโดยรัฐบาลท้องถิ่น (LOCAL TAXES)
   2. จำแนกประเภทตามหลักการผลักภาระภาษี มี 2 ประเภท คือ
               2.1  ภาษีทางตรง
               2.2  ภาษีทางอ้อม
   3. จำแนกประเภทตามวิธีการประเมินภาษี  มี 2 ประเภท คือ
               3.1 ภาษีตามราคา หรือตามมูลค่า
               3.2 ภาษีตามปริมาณ หรือตามสภาพ
   4. จำแนกประเภทตามหลักเกณฑ์อื่น ๆ  เช่น
               4.1 จำแนกประเภทตามฐานภาษี มี 3 ประเภท คือ
                    4.1.1 ภาษีเก็บจากฐานรายได้ เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล  ฯลฯ
                    4.1.2 ภาษีเก็บจากฐานภาษีการบริโภค เช่น ภาษีการขาย ภาษีการซื้อ ภาษีสรรพสามิต  ภาษีศุลกากร  ภาษีมูลค่าเพิ่ม ฯลฯ
                    4.1.3 ภาษีเก็บจากฐานทรัพย์สิน  เช่น  ภาษีทรัพย์สิน  ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่  ภาษีรถยนต์ ฯลฯ
               4.2  จำแนกประเภทภาษีอากรตามอัตราภาษี
                    4.2.1  ภาษีอัตราก้าวหน้า เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  ภาษีเงินได้นิติบุคคล(ของบางประเภท)
                 4.2.2 ภาษีอัตราตามสัดส่วน เช่น ภาษีการค้า  ภาษีการขาย  ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม
                  4.2.3 ภาษีอัตราถอยหลัง เช่น ภาษีบำรุงท้องที่ (ของไทย)  ฯลฯ
               4.3  จำแนกประเภทภาษีอากรตามลักษณะการใช้เงินภาษี แบ่งออกเป็น
                     4.3.1 ภาษีเพื่อกิจการทั่วไป
                     4.3.2  ภาษีเพื่อกิจการเฉพาะอย่าง
               4.4 จำแนกประเภทภาษีอากรตามความถาวรของกฎหมายภาษีอากร
                    4.4.1 ภาษีถาวร หรือภาษีปกติ คือ ภาษีที่จัดเก็บอยู่เป็นปกติประจำ มีลักษณะถาวรจนกว่าจะมีกฎหมายยกเลิกไป
                    4.4.2 ภาษีชั่วคราว   คือ ภาษีที่จัดเก็บเป็นการชั่วคราวในเวลาที่มีเหตุการณ์ฉุกเฉิน หรือเพื่อการหนึ่งการใดในแต่ละช่วงเวลา เมื่อสิ้นเหตุฉุกเฉิน หรือเมื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในช่วงเวลานั้น
  
            การจัดเก็บภาษีก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจหลายด้าน ที่สำคัญคือ ผลกระทบด้านการจัดสรรทรัพยากร ด้านการกระจายรายได้ และผลกระทบต่อผลผลิตของชาติการหลบหนีภาษี  หมายถึง การไม่เสียภาษีอากร หรือเสียน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ด้วยวิธีการที่ผิดกฎหมายการหลีกเลี่ยงภาษีอากร หมายถึง การไม่เสียภาษีอากร หรือเสียน้อยกว่าที่ควรจะเสีย โดยอาศัยช่องโหว่ของกฎหมาย ซึ่งไม่ผิดกฎหมาย แต่ถือได้ว่าขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมาย


ที่มา http://images.muangteeruk.multiply.multiplycontent.com/attachment/0/SUKA-woKCDIAAEdi@5Y1/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5.doc?nmid=146660431

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น