บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอนในราวิชาอินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

ภาษีนักแสดงสาธารณะ


นานมาแล้ว ที่กรมสรรพากรได้สร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับผู้มีเงินได้หรือผู้ประกอบการ ที่เป็นนักแสดงสาธารณะ ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาหรือคณะบุคคล ผู้จัดให้มีการแสดงของนักแสดงสาธารณะ และคู่สัญญาที่จัดหานักแสดงสาธารณะมาแสดง ในรูปคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 102/2544 แต่ทว่ายังเป็นเรื่องที่ต้องทวนสร้างความเข้าใจกันอีกในหมู่ประชาชน โดยเฉพาะในช่วงเวลาการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้ครึ่งปี 2555 ที่จะสิ้นสุดในวันที่ 30 กันยายน นี้ ประกอบกับมีเรื่องทอล์กออฟเดอะทาวน์ พลอย-เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์ด้วย จึงขอนำมาเป็นประเด็นกันอีกคำรบหนึ่งครับ
   
นักแสดงสาธารณะในมุมมองภาษีอากร หมายความว่า นักแสดงละคร ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ นักร้อง นักดนตรี นักกีฬาอาชีพ หรือนักแสดงเพื่อความบันเทิงใด ๆ ไม่ว่าจะแสดงเดี่ยว เป็นหมู่หรือคณะ หรือแข่งขันเป็นทีม เช่น นักแสดงละครเวที นักแสดงภาพยนตร์ นักแสดงละครวิทยุ นักแสดงละครโทรทัศน์ นักแสดงตลก ผู้ดำเนินรายการทางโทรทัศน์ นายแบบ นางแบบ นักพูดรายการทอล์กโชว์ นักมวยอาชีพ นักฟุตบอลอาชีพ เป็นต้น
   
ในส่วนของนักแสดงละคร ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ นักร้อง นักดนตรี ไม่ว่าจะแสดงเดี่ยว เป็นหมู่หรือคณะนั้นค่อนข้างชัดเจน เพราะท่านเหล่านี้ คือ ดารานักแสดงแท้จริง
   
ในทางภาษียังขยายวงให้รวมไปถึง นักแสดงเพื่อความบันเทิงใด ๆ ไม่ว่าจะแสดงเดี่ยว เป็นหมู่หรือคณะก็พอยกตัวอย่างได้ถึง ลิเก ลำตัด เพลงฉ่อย เพลงอีแซว เพลงโคราช หนังตะลุง โนรา นักแสดงตลก นักพูดรายการทอล์กโชว์ นักแสดงมายากล ละครสัตว์ หรือกรณีนำสัตว์เข้าฉากเพื่อถ่ายทำภาพยนตร์ (อันนี้แม้สัตว์จะเป็นผู้แสดง แต่ผู้มีเงินได้กลับเป็นเจ้าของคณะ หรือเจ้าของสัตว์ เพราะสัตว์ไม่อาจมีเงินได้ตามกฎหมายได้) 
   
รวมทั้งกรณี นายแบบ นางแบบ ไม่ว่าจะมีอาชีพประจำหรือไม่ ก็ถือเป็นนักแสดงสาธารณะด้วย
   
การเดินสายโชว์ตัวของนักแสดงที่กล่าวข้างต้น รวมทั้งคนดังด้านต่าง ๆ เช่น นักกีฬาเหรียญเงิน โอลิมปิก เป็นต้น ก็จัดเข้าเป็นนักแสดงสาธารณะด้วย
   
แต่เดิม ผู้ดำเนินรายการทางโทรทัศน์อย่างเช่น คุณปัญญา นิรันดร์กุล คุณวิทวัส สุนทรวิเนตร์ คุณไตรภพ ลิมปพัทธ์ คุณแหม่ม สุริวิภา หรือท่านอื่น ๆ ยังไม่ถือเป็นนักแสดงสาธารณะ จนกระทั่งปี 2546 ได้มีการทบทวนเพิ่มเติมเข้ามาใหม่ ในส่วนของนักแสดงเพื่อความบันเทิงใด ๆ จึงได้อานิสงส์ไปด้วย
   
สำหรับนักกีฬาอาชีพ ไม่ว่าจะแข่งขันเดี่ยว แข่งขันเป็นทีม อาทิ นักมวยสากลอาชีพ นักฟุตบอลอาชีพ นักเทนนิสอาชีพ นักกอล์ฟอาชีพ นักแบดมินตันอาชีพ นักวอลเลย์บอลอาชีพ
   
แต่อย่างไรก็ตามผู้ประกาศข่าว โฆษก พิธีกร นักจัดรายการวิทยุ นักจัดรายการในสถานบันเทิงใด ๆ ผู้บรรยายหรือนักพากย์ ผู้จัดการส่วนตัวของนักแสดงสาธารณะ ผู้กำกับการแสดง ผู้จัดการทีมกีฬา ผู้ฝึกสอนนักกีฬา หรือบุคคลผู้กระทำการในลักษณะทำนองเดียวกัน ไม่ถือเป็น นักแสดงสาธารณะ
   
ดังนั้น การที่ดาราบางท่านได้รับงาน   การพากย์ภาพยนตร์ หรืองานพิธีกรในงานต่าง ๆ หรืองานอ่านสปอตโฆษณาทางวิทยุและโทรทัศน์ จึงย่อมไม่มีลักษณะเป็นนักแสดงสาธารณะ จึงเป็นเงินได้จากการรับทำงานให้ตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร จึงต้องแยกประเภทเงินได้ให้ถูกต้อง
   ที่มา  
http://www.dailynews.co.th/article/944/153061

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น