บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอนในราวิชาอินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน

วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การประเมินจัดเก็บภาษีอากร

    การประเมินจัดเก็บภาษีอากร           มีอยู่ 4 วิธี ได้แก่
    4.1       การประเมินภาษีโดยการประเมินตนเอง (Self  assessment) ภาษีอากรส่วนใหญ่ ผู้มีหน้าที่เสีย ภาษีอากรเป็นผู้ดำเนินการประเมินตนเอง แล้วยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีอากร ตามจำนวนที่ พึงต้องชำระ ภายในกำหนดเวลาและสถานที่ ที่กฎหมายได้กำหนดไว้ หากประเมินแล้วไม่ถูกต้อง ครบถ้วน เจ้าพนักงานอาจประเมินภาษีเพิ่มเติมให้ถูกต้องได้ ภาษีประเภทที่ต้องประเมินตนเองเช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีนิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นต้น
    4.2       การประเมินภาษีโดยจ้าพนักงาน(Authoritative assessment) เป็นวิธีที่กำหนดให้ผู้เสียภาษีมีหน้าที่ยื่นแบบ แสดงรายการเพื่อแสดงรายละเอียดต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับการคำนวณภาษีอากรต่อเจ้าพนักงาน แต่ยังไม่ต้องชำระภาษี ณ เวลานั้น เมื่อเจ้าพนักงานตรวจสอบรายละเอียดเสร็จแล้วก็จะทำการ ประเมินภาษีและแจ้งให้ผู้เสียภาษีทราบเพื่อมาชำระภาษีภายในวันและสถานที่ที่กำหนดไว้ ภาษีที่ ประเมินด้วยวิธีได้แก่ ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน เป็นต้น นอกจากนี้หากว่าผู้มีหน้าที่ เสียภาษีประเมินตนเองไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ เจ้าพนักงานก็มีอำนาจประเมินให้ผู้มีหน้าที่เสีย ภาษีอากร ต้องรับผิดชำระเงินเพิ่ม และหรือ เบี้ยปรับเพิ่มขึ้น นอกเหนือ จากภาษีอากรที่ต้องเสีย
    4.3       การประเมินภาษีโดยการหักภาษี ณ ที่จ่าย(With holding) หลายกรณี กฎหมายกำหนด ให้ผู้ จ่ายเงินได้เป็นผู้ดำเนินการหักภาษีจากจำนวนเงินที่จ่าย แล้วนำส่งต่อเจ้าพนักงานภายในกำหนด เวลา ภาษีที่ถูกหักไว้นี้ มักถือเป็นเครดิตของผู้มีหน้าที่เสียภาษีเมื่อถึงกำหนดเวลา ผู้มีหน้าที่เสีย ภาษีอาจได้รับเงินคืน ถ้าภาษีที่ถูกหักไว้เกินกว่าจำนวนภาษีที่พึงต้องเสีย
 

4.4  การชำระภาษีล่วงหน้า (Prepaymen)   คือการชำระภาษีก่อนถึงกำหนดยื่นรายการ  โดยภาษีที่ชำระถือป็นเครดิตภาษีในการชำระภาษีเมื่อถึงกำหนดยื่นรายการ เช่นกรณีผู้ที่มีเงินได้จะเดินทางออกนอกประเทศ  ต้อง
เสียภาษีเงินได้ก่อนถึงกำหนดยื่นรายการ   หรือกรณีได้รับค่าตอบแทนสัญญาระยะยาว เช่นเช่าที่มีกำหนดเวลาเช่าเป็นระยะเวลานาน ผู้เสียภาษีสามารถยื่นแบบ ภงด.93  ชำระภาษีล่วงหน้าเป็นรายปีเฉลี่ยตามอายุแห่งสัญญาเช่า     

    5.         การอุทธรณ์ภาษีอากร
กรณี เกิดปัญหาข้อขัดแย้งพิพาทกันเกี่ยวกับข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมาย ระหว่างผู้
มีหน้าที่เสียภาษีอากรและผู้จัดเก็บภาษีอากรเกี่ยวกับจำนวนภาษีอากรที่ต้องชำระ หรืออำนาจการ
ประเมินเรียกเก็บภาษีอากร หากผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรต้องการให้มีการพิจารณาทบทวนใหม่
กฎหมายมักกำหนด ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีหาข้อยุติให้ครบถ้วน
ก่อน มิฉะนั้นผู้เสียภาษีอากรอาจเสียสิทธิในการนำคดีขึ้นสู่ศาลได้
        6.การบังคับ (Sanction)  ได้แก่เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และโทษทางอาญา
ผู้ไม่ชำระภาษีอากร จะต้องรับผิดในจำนวนภาษีอากรที่ไม่ชำระ พร้อมด้วยเบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่ม ถ้าฝ่าฝืนไม่ยอมชำระซึ่งถือเป็นโทษทางแพ่ง นอกจากนี้กฎหมายมักให้อำนาจเจ้าพนักงานดำเนินการยึดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากรไปขายทอดตลาด เพื่อนำเงินไปชำระภาษีอากรค้างได้โดยไม่ต้องฟ้องศาล นอกจากนี้ อาจต้องรับโทษทางอาญา เช่น เสียค่าปรับ และหรือต้องระวางโทษจำคุกด้วย
ที่มา http://www.thaiblogonline.com/taxrdkhonkaen.blog?PostID=43043

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น