บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอนในราวิชาอินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน

วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

โครงสร้างของภาษี

โครงสร้างของภาษีอากร
                เพื่อให้เข้าใจถึงภาษีอากร จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรู้ถึงโครงการของภาษีอากร โดยโครงสร้างของภาษีอากรนั้นประกอบไปด้วย 6 ข้อหลักดังนี้
        1.     ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร ซึ่งภาษีอากรแต่ละประเภทได้กำหนดสถานะผู้มีหน้าที่เสียภาษี และวิธีการเสียภาษีแตกต่างกันแล้วแต่กรณี ภาษีที่จัดเก็บจากรายได้นั้น ครอบคลุมผู้มีรายได้ที่ เป็นบุคคลธรรมดา คณะบุคคล และนิติบุคคลประเภทต่าง ๆ โดยมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้แตกต่าง กันไป ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บจากผู้มีรายได้ที่เป็นบุคคลทั่วไปและหน่วยภาษีที่ได้ กำหนดไว้เป็นพิเศษ สำหรับภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้ปิโตรเลียมจัดเก็บจากนิติบุคคลที่ มีรายได้ เป็นต้น ภาษีบางประเภทจัดเก็บจากการบริโภคสินค้าและบริการ ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นภาษีที่จัดเก็บจากผู้ประกอบธุรกิจการค้าซึ่งสามารถผลักภาระภาษีไปให้ ผู้บริโภคได้ นอกจากนี้ผู้ทำตราสารบางประเภทอาจอยู่ในข่ายต้องเสียภาษีที่เรียกว่า อากรแสตมป์ อีกด้วย  ซึ่งโดยสรุปแล้วผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรคือบุคคล
ธรรมดา คณะบุคคล และนิติบุคคลผู้มีเงินได้นั่นเอง
        2.     ฐานภาษีอากร คือ สิ่งที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการจัดเก็บภาษี โดยนำอัตราภาษีไปคูณกับฐาน ภาษี จะได้จำนวนภาษีที่ต้องชำระ ซึ่งฐานภาษีที่จะนำมาเป็นเป็นในการจัดเก็บภาษีมีดังนี้
       2.1 ฐานรายได้ (Income Base) คือการจัดเก็บภาษีจากความสามารถในการทำได้รายได้ของบุคคลธรรมดาและรายได้ของนิติบุคคล
        2.2 ฐานภาษีเกี่ยวกับการบริโภค (Consumption Base) คือการเก็บภาษีจากการ บริโภคสินค้าหรือบริการของประชาชน ภาษีที่เก็บจากฐานการบริโภค ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษี
สรรพสามิต ภาษีนำเข้า ภาษีส่งออก เป็นต้น
        2.3 ฐานภาษีเกี่ยวกับความมั่งคั่ง (Wealth Base) หรือเรียกอีกอย่างว่าฐานภาษี ทรัพย์สิน ภาษีที่เก็บโดยอาศัยความมั่งคั่งเป็นฐาน เช่นภาษีที่ดิน
              2.3.1          ทรัพย์สินเฉพาะอย่าง นิยมจัดเก็บจากทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ หรือ สังหาริมทรัพย์ประเภทที่ระบุหรือกำหนดมูลค่าได้ง่าย เช่น ภาษีรถยนต์ เก็บจากทรัพย์สิน ประเภทรถยนต์ ภาษีบำรุงท้องที่ของไทยเก็บจากทรัพย์สินประเภทที่ดินหรือภาษีโรงเรือนและที่ดิน เก็บจากทรัพย์สินประเภทโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ รวมกับที่ดิน ซึ่งโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้นตั้งอยู่ เป็นต้น


               2.3.2         ทรัพย์สินโดยรวม จะต้องนำมูลค่าของทรัพย์สินทั้งหมดมารวมกัน เพื่อ เป็นฐานในการประเมินภาษี ทำให้เกิดปัญหาในการบริหารจัดเก็บให้ได้ผลเต็มเม็ดเต็มหน่วยอยู่ มาก ทั้งในด้านการติดตามรวบรวมทรัพย์สินของผู้เสียภาษีแต่ละรายให้ครบถ้วน และในด้านการ ประเมินราคาทรัพย์สินบางประเภท เช่น เพชรพลอย ศิลปวัตถุทั้งหลาย นอกจากฐานภาษีสำคัญ 3 ฐาน ที่กล่าวมานี้แล้ว ในการเรียกเก็บภาษีโดยทั่วไปยังมีฐานภาษีอย่างอื่น เช่น การจัดเก็บภาษี รัชชูปการ ซึ่งเรียกเก็บเป็นรายหัวจากชายฉกรรจ์ แท่นการเข้ารับราชการทหาร การจัดเก็บภาษีการ เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งเรียกเก็บจากผู้ถือสัญชาติไทย หรือจากคนต่างด้าวที่ได้รับ อนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยเป็นรายครั้งของการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร ค่า ใบอนุญาตต่างด้าว ซึ่งเก็บจากคนต่างด้าวที่ได้ขออนุญาตมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย เป็นต้น
     2.4      ฐานสิทธิพิเศษในการประกอบการ คือการเก็บภาษีจากการที่รัฐให้ใบอนุญาต ในการทำกิจการบางอย่างแต่ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมให้แก่รัฐ เช่น ใบอนุญาตขายสุรา การผูกขาดเก็บรังนกนางแอ่น เป็นต้น
      3.       อัตราภาษี หมายถึงอัตราที่เรียกเก็บจากฐานภาษีต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นเพื่อนำไป คำนวณจำนวนภาษีที่ต้องจ่าย อัตราภาษีจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่
    3.1       อัตราแบบคงที่ อัตราภาษีอากรไม่เปลี่ยนแปลง แม้ว่าจำนวนของฐานภาษี อากรจะเปลี่ยนแปลงไป อัตราภาษีประเภทนี้ เช่น อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ร้อยละ 30 และ อัตรา
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ร้อยละ 7 เป็นต้น
     3.2      อัตราภาษีแบบก้าวหน้า อัตราภาษีประเภทนี้จะสูงขึ้นเมื่อฐานภาษีมีมูลค่า มากขึ้น เช่นการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งมีอัตราภาษีตั้งแต่ร้อยละ 5 ถึง ร้อยละ 37
     3.3      อัตราภาษีแบบถดถอย อัตราภาษีอากรลดลง แม้ว่าจำนวนของฐานภาษีอากร
จะเพิ่มขึ้น เช่น อัตราภาษีบำรุงท้องที่ เป็นต้น
ที่มา http://www.thaiblogonline.com/taxrdkhonkaen.blog?PostID=43043

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น