บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอนในราวิชาอินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม


ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
           
ตาม พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร  (ฉบับที่  30) พ.ศ  2534  ได้กำหนดให้บุคคลต่อไปนี้เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม  ประกอบด้วย  3  ประเภท  คือ
            1.  ผู้ประกอบการ  คือ 
ผู้ผลิต  ผู้ให้บริการ  ผู้ขายปลีก  ผู้ส่งออก  ซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจ  หรือวิชาชีพ  และประกอบกิจการในราชอาณาจักร
            2.  ผู้นำเข้า  คือ 
ผู้ประกอบการ  หรือบุคคลอื่น  ซึ่งนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรไม่ว่าการใด ๆ และยังรวมถึงการนำสินค้าที่ต้องเสียอากรขาเข้า  หรือ  สินค้าทีได้รับการยกเว้นอากรขาเข้า  ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรออกจากเขตอุตสาหกรรมส่งออก  โดยมิใช่เพื่อการส่งออกด้วย
            3.  ผู้ที่กฎหมายกำหนดเป็นพิเศษให้เป็นผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้  เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษี  เช่น  ตัวแทนของผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชการอาณาจักรและขายสินค้าหรือให้บริการราชอาณาจักรเป็นปกติ  หรือในกรณีที่ผู้รับโอนสินค้าจากการนำเข้าที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายพิกัดอัตราศุลกากร  หรือผู้ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าหรือบริการผู้ที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา    0  เป็นต้น

อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บจากบุคคลทั้ง  3  กลุ่ม  คือ
            1.  อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม  ร้อยละ  7 
  สำหรับการขายสินค้า  หรือให้บริการทุกประเภท  รวมทั้งการนำเข้า  (อาจจะเพิ่ม - ลด  ได้ตามสภาวะทางเศรษฐกิจ)
            2.  อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม  ร้อยละ  1.5   สำหรับการขายสินค้า  หรือให้บริการของผู้ประกอบการ  ที่มีรายรับระหว่าง  600,000  บาท  ถึง  1,200,000  บาท  ต่อปี
            3.  อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม  ร้อยละ  0 
ใช้กับธุรกิจการส่งสินค้าออกไปต่างประเทศการให้บริการขนส่งระหว่างประเทศ   ฯลฯ

การยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มและการชำระภาษี
           
 ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษี  และการชำระภาษี  ผู้ประกอบการต้องยื่นแบบ ภ.พ. 30    ภายในวันที่  15  ของเดือนถัดไป  ไม่ว่าจะมีการขายสินค้าหรือให้บริการในเดือนภาษีนั้นหรือไม่ก็ตาม 

ที่มา http://images.muangteeruk.multiply.multiplycontent.com/attachment/0/SUKA-woKCDIAAEdi@5Y1/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5.doc?nmid=146660431

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tex)


ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value  Added  Tex)       
            ภาษีมูลค่าเพิ่ม  หมายถึง  ภาษีที่เรียกเก็บจากมูลค่าของสินค่าหรือบริการในส่วนที่เพิ่มขึ้นแต่ละขั้นตอนของการผลิต  และการจำหน่ายสินค้าหรือบริการชนิดต่าง ๆ


คำนวณจาก
           
ภาษีมูลค่าเพิ่ม  =  ภาษีขาย ภาษีซื้อ
 
 


                 
            ภาษีขาย  (Sales  Tax)  คือ  ภาษีมูลค่าเพิ่ม  ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้เรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้บริการ  เมื่อได้ขายสินค้าหรือให้บริการ  หากภาษีขายเกิดขึ้นในเดือนใดก็เป็นภาษีขายของเดือนนั้น  โดยไม่คำนึงว่าสินค้าที่ขาย  หรือบริการจะซื้อมา  หรือเป็นผลมาจากผลิตในเดือนใดก็ตาม
            ภาษีซื้อ (Purchase  Tax)  ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้แระกอบการจดทะเบียนได้จ่ายให้กับผู้ขายสินค้าหรือผู้ขายบริการที่เป็นประกอบการจดทะเบียนอื่น  เมื่อซื้อสินค้าหรือรับบริการที่เพื่อใช้ในกิจการของตนทั้งที่เป็นวัตถุดิบ  หรือสินค้าประเภทเครื่องจักร  เครื่องมือและอุปกรณ์  เป็นต้น  หากภาษีซื้อเกิดขึ้นในเดือนใดก็เป็นภาษีซื้อเดือนนั้น  โดยไม่คำนึ่งว่าสินค้าที่ซื้อนั้นจะขายหรือนำไปใช้ในการผลิตเดือนใดก็ตาม
                                    ถ้า  ภาษีขาย  มากว่า  ภาษีซื้อ  กิจการต้องชำระภาษีเพิ่ม
                                    ถ้า  ภาษีขาย  น้อยกว่า  ภาษีซื้อ  กิจการสามารถขอคืนภาษีได้
ที่มา http://images.muangteeruk.multiply.multiplycontent.com/attachment/0/SUKA-woKCDIAAEdi@5Y1/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5.doc?nmid=146660431

การจำแนกประเภทภาษีอากร




การจำแนกประเภทภาษีอากร
          1. จำแนกประเภทตามระดับรัฐบาลผู้จัดเก็บ  มี 2 ประเภทคือ
               1.1 ภาษีอากรที่จัดเก็บโดยรัฐบาลกลาง หรือภาษีระดับประเทศ (NATIONAL TAXES)
               1.2 ภาษีอากรที่จัดเก็บโดยรัฐบาลท้องถิ่น (LOCAL TAXES)
   2. จำแนกประเภทตามหลักการผลักภาระภาษี มี 2 ประเภท คือ
               2.1  ภาษีทางตรง
               2.2  ภาษีทางอ้อม
   3. จำแนกประเภทตามวิธีการประเมินภาษี  มี 2 ประเภท คือ
               3.1 ภาษีตามราคา หรือตามมูลค่า
               3.2 ภาษีตามปริมาณ หรือตามสภาพ
   4. จำแนกประเภทตามหลักเกณฑ์อื่น ๆ  เช่น
               4.1 จำแนกประเภทตามฐานภาษี มี 3 ประเภท คือ
                    4.1.1 ภาษีเก็บจากฐานรายได้ เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล  ฯลฯ
                    4.1.2 ภาษีเก็บจากฐานภาษีการบริโภค เช่น ภาษีการขาย ภาษีการซื้อ ภาษีสรรพสามิต  ภาษีศุลกากร  ภาษีมูลค่าเพิ่ม ฯลฯ
                    4.1.3 ภาษีเก็บจากฐานทรัพย์สิน  เช่น  ภาษีทรัพย์สิน  ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่  ภาษีรถยนต์ ฯลฯ
               4.2  จำแนกประเภทภาษีอากรตามอัตราภาษี
                    4.2.1  ภาษีอัตราก้าวหน้า เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  ภาษีเงินได้นิติบุคคล(ของบางประเภท)
                 4.2.2 ภาษีอัตราตามสัดส่วน เช่น ภาษีการค้า  ภาษีการขาย  ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม
                  4.2.3 ภาษีอัตราถอยหลัง เช่น ภาษีบำรุงท้องที่ (ของไทย)  ฯลฯ
               4.3  จำแนกประเภทภาษีอากรตามลักษณะการใช้เงินภาษี แบ่งออกเป็น
                     4.3.1 ภาษีเพื่อกิจการทั่วไป
                     4.3.2  ภาษีเพื่อกิจการเฉพาะอย่าง
               4.4 จำแนกประเภทภาษีอากรตามความถาวรของกฎหมายภาษีอากร
                    4.4.1 ภาษีถาวร หรือภาษีปกติ คือ ภาษีที่จัดเก็บอยู่เป็นปกติประจำ มีลักษณะถาวรจนกว่าจะมีกฎหมายยกเลิกไป
                    4.4.2 ภาษีชั่วคราว   คือ ภาษีที่จัดเก็บเป็นการชั่วคราวในเวลาที่มีเหตุการณ์ฉุกเฉิน หรือเพื่อการหนึ่งการใดในแต่ละช่วงเวลา เมื่อสิ้นเหตุฉุกเฉิน หรือเมื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในช่วงเวลานั้น
  
            การจัดเก็บภาษีก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจหลายด้าน ที่สำคัญคือ ผลกระทบด้านการจัดสรรทรัพยากร ด้านการกระจายรายได้ และผลกระทบต่อผลผลิตของชาติการหลบหนีภาษี  หมายถึง การไม่เสียภาษีอากร หรือเสียน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ด้วยวิธีการที่ผิดกฎหมายการหลีกเลี่ยงภาษีอากร หมายถึง การไม่เสียภาษีอากร หรือเสียน้อยกว่าที่ควรจะเสีย โดยอาศัยช่องโหว่ของกฎหมาย ซึ่งไม่ผิดกฎหมาย แต่ถือได้ว่าขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมาย


ที่มา http://images.muangteeruk.multiply.multiplycontent.com/attachment/0/SUKA-woKCDIAAEdi@5Y1/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5.doc?nmid=146660431