บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอนในราวิชาอินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน

วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เงินเดือนเท่าไหร่ ไม่ต้องเสียภาษี


วันนี้ได้ยื่นภาษี มีขอคืนด้วยแฮ่ะ แบบว่าหักเกินไปหน่อย 555 ก็เลยลองมาคิดเล่นๆว่า มีเงินเดือนเท่าไหร่ ไม่ต้องเสียภาษี เอาแบบเป็นหนุ่มโสด หรือ สาวโสด ไม่มีภาระ อะไรเลย มีรายได้ทั้งปี 240,000 บาทต่อปี หรือ 20,000 บาท ต่อเดือน สูงเหมือนกันนะเนี่ย เลยรู้เลยผมเงินเดือนเกิน สองหมื่น อิอิ
ที่นี่เรามาดูว่า รายได้ทั้งปี 240,000 บาทต่อปี หรือ 20,000 บาท ต่อเดือน ตัวเลขเหล่านี้มาได้ยังไง ก็มี 3 ตัวหลักๆ ที่ทำให้เกิดคือ
1 ค่าลดหย่อนของผู้มีเงินได้ 30,000 บาท มาตรา 47 (ก)
2 ค่าใช้จ่าย ร้อยละ 40 ไม่เกิน 60,000 บาท มาตรา 42 ทวิ
3 หลังจากหักค่า ตามข้อ 1 และ ข้อ 2 แล้ว มีเงินได้ไม่เกิน 150,000 บาทต่อปี ได้รับการยกเว้น
บัญชีอัตราภาษีเงินได้ ตามที่กรมสรรพกรกำหนด
สำหรับบุคคลธรรมดา
เงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท ยกเว้นภาษี
เงินได้สุทธิส่วนที่เกิน 150,000 บาท แต่ไม่เกิน 500,000 บาท ร้อยละ 10
เงินได้สุทธิส่วนที่เกิน 500,000 บาท แต่ไม่เกิน 1,000,000 บาท ร้อยละ 20
เงินได้สุทธิส่วนที่เกิน 1,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 4,000,000 บาท ร้อยละ 30
เงินได้สุทธิส่วนที่เกิน 4,000,000 บาท ร้อยละ 37
ดังนั้นเราก็แค่เอา 150,000 + 60,000 + 30,000 = 240,000 นั่นเอง
อย่างที่บอก อันนี้คำนวณแบบ คนโสด ไม่มีภาระอะไร เช่น ผ่อนที่อยู่อาศัย ทำเบี้ยประกันชีวิต มีบุตร มีพ่อแม่อายุเกิน 60 ฯลฯ ถ้าสามารถลดหย่อนตามที่กล่าวมา ก็ยังสามารถขยายไปได้อีก มากกว่า เดือนละ 20,000 บาท
โดยคนส่วนมากที่รู้ดี ก็จะทำประกันชีวิต ผ่อนบ้านที่อยู่อาศัย ซื้อกองทุนต่างๆที่หักลดหย่อนได้ การทำบุญก็ต้องขอหลักฐาน ถ้าเป็นการศึกษาก็จะได้ 2 เท่าจากการบริจาค ธรรมดาที่ไม่ใช่การศึกษา ค่าลดหย่อนพวกนี้ล่ะที่ทำให้ คนรู้ดี ใช้สิทธิลดหย่อนจนเสียภาษีน้อยที่สุด เท่าที่จะใช้ได้ และ เพื่อนๆ พี่ๆล่ะ ใช้สิทธิ์กันครบหรือยังค่ะ ^ ^
ที่มา http://rukbunchee.com/%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5.html

การวางแผนภาษีมรดก


            กฎหมาย ภาษีของบ้านเรานั้น ได้ส่งเสริมให้มีการโอนทรัพย์สินจากพ่อแม่ไปสู่ลูกๆ ซึ่งโดยปกติจะไม่มีภาระภาษีใดๆทั้งสิ้น    การที่รัฐส่งเสริมเช่นนี้ เพราะเห็นว่าเป็นการให้กับลูกๆ ซึ่งพ่อแม่มี หน้าที่ต้องเลี้ยงดูลูกๆ ตามกฎหมายแพ่งอยู่แล้ว และในความเป็นจริงก็เป็น การดีสำหรับลูกๆ เมื่อพ่อแม่ถึงแก่ชีวิตแล้ว   ก็จะไม่มีมรดกให้ลูกๆ ทะเลาะกันในการแบ่งมรดกด้วย เพราะพ่อแม่ได้จัดการแบ่ง ให้เรียบร้อยแล้วก่อนที่จะเสียชีวิต ก็โชคดีสำหรับลูกๆ ไป
 ฉะนั้นฉบับนี้ผู้เขียนจึงนำเรื่องราวเกี่ยวกับภาระภาษีระหว่างผู้โอน(พ่อ แม่) กับผู้รับโอน (ลูกๆ) ซึ่งสามารถแยกภาษีของแต่ละฝ่ายได้ดังนี้

1.ฝ่าย ผู้โอน (พ่อ แม่)
- กรณีโอนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ลูกๆ    ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้    และภาษีธุรกิจเฉพาะ
- กรณีโอนสังหาริมทรัพย์ ให้แก่ลูกๆ     ไม่มีภาษีเงินได้เพราะไม่ถือเป็นการขายตามกฎหมาย
- กรณีโอนเงินสดให้แก่ลูกๆ    ไม่มีภาระภาษีเงินได้ และไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะไม่ใช่ธุรกรรมทางธุรกิจ

2. ฝ่ายผู้รับโอน (ลูกๆ)
- กรณี รับโอนอสังหาริมทรัพย์ ลูกๆ จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ แต่ว่าเมื่อใดที่ลูกๆ ขายอสังหาริมทรัพย์ออกไป จะต้องเสียภาษีเงินได้จากการขาย และเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
- กรณีรับโอนสังหาริมทรัพย์ ลูกๆได้รับยกเว้นภาษี กล่าวคือไม่ต้องเสียภาษีเงินได้
- กรณีรับโอนเงินสด ลูกๆ ได้รับยกเว้นภาษี กล่าวคือไม่ต้องเสียภาษีเงินได้    แต่อย่างไรก็ดี สำหรับลูกๆที่พ่อแม่ในขณะมีชีวิตอยู่ไม่ได้แบ่งทรัพย์สินกัน ให้เรียบร้อย เมื่อพ่อ แม่ เสียชีวิตลง ที่ดินจึงตกเป็นมรดกแก่ลูก ๆ    หากลูก ๆ ไม่ต้องการแบ่งแยกที่ดินกัน     อาจจะเป็นเพราะที่ดินมีขนาดแปลงเล็กจนไม่สามารถแบ่งกันได้ หรือด้วยสาเหตุใดๆก็ตาม   ลูกๆ ต้องการขายที่ดินเพื่อนำเงินมาแบ่งปันกันแทน แต่ปรากฏว่าการขายที่ดินที่ เป็นมรดกนั้นลูกๆ ที่ขายที่ดินถือว่าเป็นผู้มีเงินได้   จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งกรณีดังกล่าวก็มีวิธีประหยัดภาษีได้ เช่นกัน
  การจดทะเบียนการขายกรรมสิทธ์ที่ดินนั้น ทุกคนทราบดีว่าต้องไปดำเนินการกันที่สำนักงานที่ดินที่ที่ดินตั้งอยู่ในเขต นั้นๆ ซึ่งการจดทะเบียนโอนขายกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เป็นมรดกนั้นสามารถทำ ได้ 2 วิธี คือ
                1. ผู้จัดการมรดกโอนขายกรรมสิทธิ์ที่ดินในนามผู้จัดการมรดกให้แก่ผู้ซื้อได้โดยตรง
            2. ผู้จัดการมรดกโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้กับทายาททั้งหลายที่มีสิทธิรับมรดก ก่อน แล้วทายาททั้งหลายจึงโอนขายกรรมสิทธิ์ที่ดินให้กับผู้ซื้ออีกทอดหนึ่ง ซึ่งสามารถทำนิติกรรมในวันเดียวกันได้ ไม่ต้องห่วงครับเจ้าหน้าที่ที่ดินเขาเก่ง!!!!!
            บางคนอาจจะมองว่า ทั้งสองกรณีน่าจะไม่มีอะไรที่แตกต่างกัน ความจริงแล้วทั้งสองกรณีนั้นมีภาระภาษีที่แตกต่างกันมากนะครับ    กล่าวคือ
            ถ้า ผู้รับมรดกมีคนเดียวก็ให้ใช้วิธีที่ 1. จะได้ไม่ต้องเสียค่าจดทะเบียนรับ โอนมรดกของทายาท คงเสียแต่ภาษีเงินได้จากการขายที่ดินและค่าอากรแสตมป์ของกองมรดกเท่านั้น แต่ถ้าทายาทที่มีสิทธิรับมรดกมีหลายคนขอแนะนำให้ใช้วิธีที่ 2. เพราะสามารถประหยัดภาษีเงินได้ของทายาทได้มากเลยนะครับ    เพราะการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น จะคิดคำนวณจากราคาประเมินของ ที่ดินหักด้วยค่าใช้จ่ายในอัตราร้อยละห้าสิบของราคาประเมินแล้วนำเงินที่ เหลือมาหารด้วยจำนวนของทายาทที่ได้รับแต่ละคน จากนั้นจึงจะนำเงินได้ของทายาทแต่ละคนมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตรา ก้าวหน้าของแต่ละคนจึงจะเป็นอัตราภาษีที่ต้องเสีย ซึ่งแม้ว่าการรับมรดกของทายาทนั้นจะต้องเสียค่าจดทะเบียนการรับโอน กรรมสิทธิ์ที่ดินในอัตราร้อยละ 0.5 ของราคาประเมินก็ตาม แต่ก็น้อยกว่าการเสียภาษีเงินได้ของกองมรดก ซึ่งจะต้องเสียในอัตราก้าวหน้าสูงสุดถึงร้อยละ 20 ของราคาประเมินที่ดิน
            ซึ่งผู้เขียนเคยใช้วิธีที่ 2 .มาแล้ว กรณีของกองมรดกขายที่ดินมรดกจำนวน 74 ล้านบาท โดยมีทายาทจำนวน 15 คน หากใช้วิธีที่ 1 จะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่สำนักงานที่ดินเป็นเงินประมาณ 5.6 ล้านบาท แต่หากใช้วิธีที่ 2 จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่สำนักงานที่ดิน ประมาณ 2 ล้านบาทเศษ จะเห็นได้ว่าสามารถประหยัดภาษีไปได้ประมาณ 3.6 ล้านบาท รถยนต์งาม ๆ คันหนึ่งเลยนะครับท่านผู้อ่าน  การวางแผนภาษีไม่ใช่การเลี่ยงภาษีนะครับ แต่เป็นวิธีการเสียภาษีอย่างประหยัด และถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น
ที่มา http://www.thonburi-home.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538974886&Ntype=5

การลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นอัตราร้อยละ 7


            ทำไมต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ในเมื่อพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 507) พ.ศ.2553 กำหนดให้ลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มและคงจัดเก็บในอัตราร้อยละ 6.  ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.  ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕
         
             เนื่องจากพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร จากอัตราร้อยละ 10.0 เป็นอัตราร้อยละ 6.3 ซึ่งตามพระราชบัญญัติจัดสรรรายได้ประเภทภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะให้แก่ราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2534 ประกอบกับพระราชบัญญัติรายได้เทศบาล (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2534 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2535 เป็นต้นไป มอบให้กรมสรรพากรเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มแทนราชการส่วนท้องถิ่น ในอัตรา 1 ใน 9  ของอัตราภาษีที่จัดเก็บ ดังนั้น กรมสรรพากรจึงจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 6.3 บวกกับภาษีที่ต้องจัดสรรให้แก่ราชการส่วนท้องถิ่นอีกในอัตรา 1 ใน 9 ของอัตราภาษีที่จัดเก็บ รวมเป็นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งสิ้นร้อยละ 7.0 
ที่มา http://www.thaiblogonline.com/taxrdkhonkaen.blog?PostID=39031

ความเป็นมาของภาษีมูลค่าเพิ่ม


การ นำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้เป็นผลมาจากเหตุผลในทางเศรษฐกิจ กล่าวคือ จากการที่เศรษฐกิจของประเทศไทยขยายตัวอย่างรวดเร็ว ฐานะทางเศรษฐกิจการเงินการคลังของประเทศมั่นคงขึ้นมาก ในขณะที่มีการกล่าวถึงความไม่เหมาะสมของโครงสร้างภาษีการค้าต่อเศรษฐกิจของ ประเทศ อันได้แก่ความซ้ำซ้อนของระบบภาษีการค้าที่เป็นอยู่ และความหลากหลายของโครงสร้างอัตราภาษีนอกจากความบกพร่องของระบบภาษีการค้า ซึ่งไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคตแล้ว ความต้องการเปลี่ยนแปลงระบบภาษีของทางการ ยังสืบเนื่องมาจากเหตุผลทางด้านภาษีอากรอีกด้วย กล่าวคือ ความสามารถในการหารายได้ของรัฐผ่านเครื่องมือทางภาษีการค้าและภาษีศุลกากร ได้ลดน้อยลงเป็นลำดับ      ด้วย เหตุผลดังกล่าว กระทรวงการคลัง จึงได้เสนอพิจารณายกเลิกภาษีการค้า และนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้แทน โดยภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวจะมีอัตราเดียวที่ใช้กับสินค้าและบริการทุกชนิด สำหรับสินค้าใดที่มีเหตุผลทางเศรษฐกิจที่จะเก็บสูงกว่าอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เก็บภาษีสรรพสามิตเพิ่มเติมจากภาษีมูลค่าเพิ่มการนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้ นี้ นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญต่อระบบภาษีอากรของประเทศไทยเป็นการปฏิรูป ภาษีการค้าครั้งใหญ่ ทำให้ระบบภาษีอากรของประเทศมีความสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน และเอื้ออำนวยต่อการลงทุนการส่งออก และการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจ เนื่องจากภาษีมูลค่าเพิ่มไม่มีความซ้ำซ้อนของภาระภาษีดังเช่นภาษีการค้า นอกจากนี้ภาษีมูลค่าเพิ่มทำให้เกิดความเป็นธรรมและความสะดวกต่อการปฏิบัติ ตามของผู้เสียภาษีอีกด้วย
ที่มา  http://www.thaiblogonline.com/taxrdkhonkaen.blog?PostID=39031

วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

1.ภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร  บางคนก็สงสัยคะ ว่า มันคืออะไร ก็คือภาษีตัวหนึ่ง หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า แวต (VAT) เป็นภาษีทางอ้อมประเภทหนึ่งที่เรียกเก็บจากบุคคลที่ซื้อสินค้าหรือรับบริการ โดยจัดเก็บเฉพาะจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนของการผลิต การจำหน่ายหรือการให้บริการ ตัวอย่างเช่น สมมติว่าอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นร้อยละ 7
เราซื้อวัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์ เพื่อมาผลิตเป็นสินค้าราคา 100 บาท ก็จะต้องจ่ายภาษีเพิ่ม 7 บาท (เรียกว่า "ภาษีซื้อ) เมื่อผลิตเป็นสินค้าเสร็จแล้วเราก็ขายไปในราคา 300 บาท ตอนขายไปเราก็จะต้องคิดหรือบวกภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 21 บาท (เรียกว่า "ภาษีขาย") ซึ่งค่าภาษีมูลค่าเพิ่มที่เก็บมานี้ จะต้องนำส่งหลวงหรือสรรพากร และเป็นเงินของผู้ซื้อสินค้าของเรา เราไม่ใช่คนจ่ายภาษี และเราผู้ขายมีหน้าที่ต้องนำส่งหลวงหรือไปจ่ายให้กับกรมสรรพากร แต่ก่อนนำไปจ่าย ถ้าเรามีภาษีซื้อ (ดังตัวอย่าง ภาษีซื้อ คือ 7 บาท) เราก็นำมาหักลบก่อนได้ ดังนี้ เราก็นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มเฉพาะผลต่างจำนวน 21-7 = 14 บาท เป็นต้น (ซึ่ง เงิน 14 บาท ก็คือเงินที่เก็บมาจากการขายสินค้า(ของลูกค้าเรา) นั้นเอง)
สรุป ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีที่เก็บจากลูกค้า ที่เราขายสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้า ผู้ที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริงคือลูกค้าเรานั่นเอง

2.ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อใด
การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือที่เรียกว่า VAT ปัจจุบันมีอัตรา 7 % ภาษีมูลค่าเพิ่มบางกิจการได้รับการยกเว้น ไม่ต้องจดเพราะเป็นการเพิ่มภาระให้กับประชาชน เนื่องจากถ้าให้เจ้าของกิจการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีนี้จะถูกผลักไปที่ผู้บริโภค เช่น กิจการเกี่ยวกับการขนส่ง กิจการค้าผืชผลทางการเกษตร แต่บางครั้งเจ้าของกิจการไม่ทราบว่าต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ เพราะดูก้ำกึ่ง ก็ควรสอบถามกับทางกรมสรรพากร แต่ถ้าหากใช้บริการสำนักงานบัญชี ซึ่งก็จะได้รับคำปรึกษาทางนี้ได้ บางกิจการที่ดูก้ำกึ่งเช่น กิจการจำหน่ายสุนัข และขายอุปกรณ์ในการดูแลสุนัข ต้องดูว่ารายได้หลักคืออะไร ถ้าหากขายอุปกรณ์เป็นรายได้หลัก ก็จะเข้าเกณฑ์ที่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม กิจการขายอาหาร ก็ไม่ใช่เป็นการขายพืชผลทางการเกษตร แต่เป็นการขายสินค้า ซึ่งก็คืออาหาร ก็ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม
หลักเกณฑ์ในการขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็คือ นิติบุคคลหรือผู้ประกอบการใด ที่มีรายได้ไม่เกิน 1,800,000 บาทต่อปี ก็ไม่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่หากมีความประสงค์จะขอเข้าจดเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่มก่อนก็ได้ (หรือพูดง่ายๆ ก็คือ จะจดหรือไม่ก็ได้) แต่ถ้าเกิน 1,800,000 บาทต่อปี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มิฉะนั้นจะต้องถูกประเมินภาษี ผู้ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว สามารถออก ใบกำกับภาษี ให้กับลูกค้าได้
ดังนั้นจะพิจารณาว่า จะจดเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่มดีหรือไม่ ให้พิจารณาจาก
1. ต้องการออกใบกำกับภาษีให้กับลูกค้าหรือไม่ หรือลูกค้าต้องการใบกำกับภาษีจากเรา ดังนั้นเราต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่มแน่นอน (เพราะผู้มีสิทธิ์ออกใบกำกับภาษีได้ ก็คือผู้ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้น) ถึงแม้ว่าเรารายได้ไม่ถึง 1.8 ล้าน/ปีก็ตาม
2.มีรายได้ถึง 1,800,000 บาทต่อปีหรือไม่ ถ้าถึง ก็ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
3.พิจารณาว่า กิจการเรา ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ เช่น กิจการขนส่ง เป็นต้น
นอกจากที่กล่าวมาแล้ว บุคคลธรรมดา ที่รับงานส่วนตัว และให้บริษัทหรือนิติบุคคล หักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นค่าจ้าง ค่าบริการ ฯลฯ ถ้าหากรายได้เกิน 1,800,000 บาทต่อปี ก็ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นเดียวกัน เรื่องนี้ต้องระวังเพราะถูกภาษีย้อนหลังกันเยอะ โดยส่วนใหญ่มักจะไม่รู้ว่า บุคคลธรรมดาต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย

หลักฐานและเอกสารในการขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เอกสารที่ต้องใช้ดังนี้
นิติบุคคล(บริษัท,ห้าง)
1..สำเนาหนังสือรับรองพร้อมวัตถุประสงค์ ไม่เกิน 1 เดือนและใบสำคัญการจดทะเบียน เซ็นรับรองประทับตรา
2..สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของกรรมการตามอำนาจในหนังสือรับรอง
3.สำเนาหนังสือบริคณห์สนธิ (กรณีเป็นบริษัท)และบัญชีผู้หุ้น (บอจ.5)
4.สำเนารายงานการประชุมหรือข้อบังคับ(กรณีเป็นบริษัท)
5.สำเนาสัญญาเช่า(กรณีเช่า) ผู้ให้เช่าต้องทำสัญญาเช่าในนามนิติบุคคล และต้องติดอากรให้เรียบร้อย
หรือหนังสือยินยอมจากเจ้าของและเจ้าบ้านของสถานที่ตั้งประกอบการ พร้อมหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ เช่น สัญญาซื้อขาย,โฉนดที่ดิน
6. สำเนาทะเบียนบ้านสถานที่ประกอบการ
7.สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของผู้ให้เช่าหรือผู้ให้ความยินยอมแล้วแต่กรณี ถ้ามีเจ้าบ้านด้วย
ถ้าเช่า ต้องเช่าในนามนิติบุคคล(บริษัท,ห้าง)และติดอากรให้เรียบร้อย(1000ละ1บาท/เดือน/ปี)
8.แผนที่ตั้งและภาพถ่ายแสดงให้เห็นป้ายชื่อบริษัทและเลขที่สถานที่ตั้งสำนักงาน
9.-หนังสือมอบอำนาจและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีไม่อาจมาด้วยตนเอง)
10.แบบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม(ภพ.01) (ผู้จดทะเบียนเตรียมให้)
อนึ่ง
ในวันจดทะเบียนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม อาจต้องนำเอกสารตัวจริงทุกอย่างไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ด้วย ดังนี้
(แต่ปัจจุบันยังไม่ต้องนำไปแสดงแล้ว)
1.หนังสือรับรองพร้อมวัตถุประสงค์
2.หนังสือบริคณห์สนธิ (กรณีเป็นบริษัท)
3.รายงานการประชุม(กรณีเป็นบริษัท)
4.บัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของกรรมการ,หุ้นส่วนผู้จัดการ
5.บัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของเจ้าบ้าน
6.สัญญาซื้อขายหรือโฉนดที่ดิน
7.ทะเบียนบ้านสถานที่ประกอบการ


สถานที่ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม  ในเขตกรุงเทพมหานคร
-ให้ยื่นที่ฝ่ายทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสำนักงานภาษีสรรพากรเขตพื้นที่ (สพท.) ทุกแห่ง
-ยื่นขอจดทะเบียนผ่านอินเตอร์เน็ททางเว็บไซด์สรรพรกร http://www.rd.go.th
จังหวัดอื่น
-ให้ยื่นจดทะเบียนที่ตั้งสรรพากรอำเภอหรือให้ยื่นที่สำนักงานสรรพากรจังหวัด
-ยื่นขอจดทะเบียนผ่านอินเตอร์เน็ททางเว็บไซด์สรรพรกร http://www.rd.go.th
อนึ่ง
-ในการจดทะเบียนผ่านทางอินเตอร์เน็ตนั้น จะอนุมัติการจดทะเบียน ล่าช้าไปประมาณ 15 วันคะ

ใช้บริการสำนักงาน"เพื่อนงานและการบัญชี"
 ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมลฑล
-ค่าบริการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม คิด 1,000 บาท คะ
-ยื่นจดรวดเร็ว เอกสารพร้อมใช้เวลา 1 วันคะ
จังหวัดอื่น
-จังหวัดอื่นก็คิดตามจังหวัดคะว่าท่านมีสถานประกอบการจังหวัดอะไร
ที่มา http://account.friend.co.th/107.html